วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552

แนวข้อสอบวิชา ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์

แนวข้อสอบวิชา ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์
รศ.ดร.สุวัลลีย์ เปี่ยมปิติ
1. ชื่อเรื่อง
- การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชน กรณีศึกษาเทศบาลตำบลในเมือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
2. ความเป็นมาของปัญหา
2.1 การจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในช่วงที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่ยังไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เช่น การเทกองและการเผากลางแจ้ง เป็นต้น ส่งผลให้ปัญหาขยะมูลฝอยมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำ ดิน ทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ รวมทั้งสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชน
2.2 การที่จำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับค่านิยมในการดำรงชีวิตที่ให้ความสำคัญกับรูปลักษณ์และความสะดวกสบายในการบริโภคเป็นหลัก ทำให้ปริมาณขยะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว หากไม่รีบดำเนินการแก้ไขปัญหาจะนำไปสู่วิกฤตด้านการจัดการขยะมูลฝอยที่ยากเกินจะแก้ไขได้ในอนาคตอันใกล้
3. ความสำคัญของปัญหา
1. เกิดปัญหามลพิษต่อสภาพแวดล้อมอย่างมากมาย เช่น การปนเปื้อนของแหล่งน้ำและการปนเปื้อนของอากาศ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และแพร่กระจายของเชื้อโรค ตลอดจนก่อให้เกิดความรำคาญต่าง ๆ ตลอดจนเป็นต้นเหตุของอัคคีภัยได้อีกด้วย
2. ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ
4. วัตถุประสงค์
4.1 เพื่อศึกษาลักษณะการมีส่วนร่วมด้านการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชน กรณีศึกษาเทศบาลตำบลในเมือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
4.2 เพื่อศึกษาสาเหตุหรือปัจจัยการมีส่วนร่วมด้านการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชน กรณีศึกษาเทศบาลตำบลในเมือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์

5. วิธีดำเนินการวิจัย
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษา ค้นคว้าและรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอย ประกอบกับนโยบายของเทศบาลตำบลในเมืองเพี่อใช้เป็นกรอบแนวความคิดในการวิจัย และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือกับผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลในเมือง จำนวน 3 ชุมชน คือ ชุมชนหลักเมือง ชุมชนศรีเมืองพิชัย และชุมชนพิชัยดาบหัก จำนวน ประชากรทั้งสิ้น 2,188 คน ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวเอย่างแบบกำหนดเป็นสัดส่วน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 300 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ (The Statistical Package for Social Sciences = SPSS) ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยกระตุ้นวิเคราะห์ด้วยค่าสถิติร้อยละ พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยวิเคราะห์ ด้วย ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทดสอบสถิติ T-test และการวิเคราะห์ด้วยตัวแปรทางเดียว

6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
6.1 ทำให้ทราบลักษณะการมีส่วนร่วมด้านการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลในเมือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
6.2 ทำให้ทราบสาเหตุหรือปัจจัยการมีส่วนร่วมด้านการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลในเมือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
6.3 ทำให้ทราบข้อมูลในการวางแผนการมีส่วนร่วมด้านการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลในเมือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
7. ตัวอย่างแบบสอบถาม (อย่างย่อ ๆ )

การสอบประมวลผลความรู้

ข้อแนะนำในการเตรียมตัวสอบ (ความเห็นส่วนตัวนะค่ะ)
1. การสอบในครั้งนี้ เราเห็นว่า เป็นการกำหนดนโยบายสาธารณะ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ วิชานโยบายสาธารณะและการวางแผน(รศ.721) ซึ่งพวกเราได้รับการประสิทธิประสาทวิชาจาก ผศ.ดร.วิยุทธ์ จำรัสพันธ์ ,และอาจารย์อื่นๆ อีก 2 ท่าน
ดังนั้น เอกสารทั้งหมดของวิชานี้ ควรได้รับการศึกษาและคัดลอกเพื่อเตรียมการไว้สำหรับการสอบ
2. จากแนวทางในการสอบ เห็นได้ว่า เป็นแนวทางการศึกษาเชิงวิเคราะห์ (กระบวนการนโยบาย : หลักการและการประยุกต์ สุรนาท ขมะณะรงค์ , 2548, น.14) เนื่องจากเป็นการศึกษาวิเคราะห์นโยบาย เพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุด หรือแนวทางที่ดีกว่าในการกำหนดเป็นนโยบาย
3. จากข้อ 1 และข้อ 2 เราควรหาข้อมูลและเตรียมตัวแบบทฤษฎีที่คาดว่าจะเกี่ยวข้องกับการสอบ เช่น ตัวแบบทฤษฎีระบบ (อ้างแล้ว น.19) , ตัวแบบทฤษฎีกลุ่ม (น.28) , ตัวแบบการตัดสินใจตามหลักเหตุผล (น.32) และทฤษฎีอื่น ๆ หรือข้อมูลเพิ่มเติมที่คิดว่าจะได้ใช้หรือคาดว่าจะมีส่วนเกี่ยวข้อง (โดยทำการพิมพ์เป็นแฟ้มข้อมูลเพื่อเตรียมพร้อมในการเรียกข้อมูลมาตัดต่อพันธุกรรมอีกครั้งในการพิมพ์คำตอบตอนบ่าย )4. เตรียมการพิมพ์โครงสร้างในการตอบแนวสอบ ( ตลอดจนหาข้อมูลที่คาดว่าจะเกี่ยวข้องกับกระบวนการต่าง ๆ ในการตอบแนวสอบ โดยทำการพิมพ์เป็นแฟ้มข้อมูลเพื่อเตรียมพร้อมในการเรียกข้อมูลมาตัดต่อพันธุกรรมอีกครั้ง ) เพื่อจะได้ใช้เวลาในการพิมพ์คำตอบให้น้อยลง นั่นหมายถึง เราจะได้มีเวลาในการปรึกษาหารือกันมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้พวกเราสามารถตอบข้อสอบให้ออกมาได้ดีและสมบูรณ์ที่สุด เพื่อจุดหมายปลายทางของวิชานี้ คือB ขึ้นไป จากข้อมูลที่เสนอมาทั้งหมด คงจะทำให้พี่ ๆ เพื่อน ๆ น้อง ๆ มั่นใจมากขึ้นนะค่ะว่า การสอบประมวลความรู้คราวนี้ ไม่น่าจะยากเกินกว่าที่พวกเราทั้งหมดจะฝ่าฟันไปได้
ตัวอย่างการทำข้อสอบค่ะ
แนวสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Exam)

เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปแล้วว่า หัวใจของการพัฒนาไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็แล้วแต่ ขึ้นอยู่กับการ “พัฒนาคน” เป็นสำคัญ จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบุคลากรท้องถิ่นที่เข้ามาเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ไม่ว่าท่านจะมาจากฝ่ายข้าราชการการเมือง หรือฝ่ายข้าราชการประจำก็ตาม คงจะตระหนักด้วยเช่นกัน ถึงความสำคัญของการ “พัฒนาคน” หรือที่ทางวิชาการเรียกว่า “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์”
ดังนั้น ในฐานะที่ท่านรับทุนการศึกษาจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ท่านสังกัดและได้เข้ามารับการศึกษาในหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นอันทรงเกียรติแห่งนี้ และใกล้จะสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรดังกล่าวแล้ว จึงขอให้ท่านแสดงวิสัยทัศน์ แนวคิด ทักษะ ความรู้ ความสามารถในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของท่าน ดังต่อไปนี้
1. ให้ท่านมองว่า “คน” (ประชาชน) ในท้องถิ่นของท่านมีลักษณะเด่นๆ หรือสำคัญอย่างไร ทั้งในแง่จุดแข็ง และจุดอ่อน หรือประเด็นที่จะต้องได้รับการพัฒนา โปรดแสดงมุมมอง และความคิดเห็นของท่านอย่างกว้างขวาง
การพัฒนา (Development) หมายถึง
ความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงรูปสภาพแวดล้อม โครงสร้าง กระบวนการและพฤติกรรมของระบบและปัจเจกบุคคลทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เพื่อสนองตอบข้อเรียกร้อง และความต้องการของมนุษย์ การพัฒนาจึงเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
ข้าพเจ้าในฐานะบุคลากรท้องถิ่น มีความตระหนักดีว่า หัวใจของการพัฒนาไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็แล้วแต่ ขึ้นอยู่กับการ “พัฒนาคน” หรือที่ทางวิชาการเรียกว่า “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์” เป็นสำคัญ และคน (ประชาชน) ในท้องถิ่นของข้าพเจ้า คือ อบต.วังแดง มีลักษณะเด่น ๆ หรือสำคัญ ทั้งในแง่จุดแข็งและจุดอ่อน หรือประเด็นที่จะต้องได้รับการพัฒนาคือ
องค์การบริหารส่วนตำบลวังแดงเป็น อบต.ขนาดเล็ก ที่มีความพร้อมทางด้านการบริการสาธารณะ มีการบริหารจัดการภายในดี ไม่มีความขัดแย้งทางการเมืองการบริหาร เส้นทางคมนาคมสะดวก มีระบบไฟฟ้า แหล่งน้ำ และทรัพยากรด้านต่างๆ ที่เหมาะสม มีการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิมโดยคนรุ่นเก่า ยึดถือปฏิบัติกันอย่างสม่ำเสมอ ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มีความโอบอ้อมอารี ไม่มีปัญหาด้านมวลชน สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปอยู่ในสภาพดี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม


ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง มีลักษณะเด่น ๆ ในแง่ของจุดแข็ง ดังนี้
1. ประชากรยึดถือการดำรงชีวิตตามประเพณีและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของการร่วมกันในสังคมอย่างเอื้ออาทรต่อกัน มีการยึดหลักธรรมศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ มีความเคารพในสิทธิเสรีภาพต่อกัน ซึ่งมีความสำนึกรู้จักใช้ทรัพยากรในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างมีคุณค่าและหวงแหนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีประโยชน์ในการดำรงชีวิตของคนชุมชนอย่างยั่งยืน
2. ประชาชนมีการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นเครือข่ายที่มีความเข้มแข็ง อาทิเช่น กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ กลุ่มอาชีพต่าง ๆ ชมรมผู้สูงอายุ เป็นต้น
2. ผู้นำท้องถิ่น ได้แก่ ผู้บริหาร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. อปพร. อพม. เกษตรอำเภอ พัฒนการอำเภอ มีการประชุมหารือร่วมกัน เพื่อการพัฒนาและแก้ปัญหาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
3. องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการจัดสรรงบประมาณเพื่อดูแลผู้ด้อยโอกาสในตำบลได้โดยใช้กระบวนการคัดเลือกจากคณะกรรมการในหมู่บ้านและตำบล
4. มีปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น
แต่ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง ก็มีจุดอ่อนหรือประเด็นที่จะต้องได้รับการพัฒนา ดังนี้
ด้านเศรษฐกิจ
- ประชากรในตำบลมีหนี้สินที่เกิดจากการประกอบอาชีพ ต้นทุนสูง ได้ผลผลิตต่ำไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในการลงทุน ทำให้มีหนี้สินเพิ่มมากขึ้นทุกปี
- มีการผลิตสินค้าขึ้นเองในท้องถิ่น แต่ไม่มีตลาดรองรับผลิตผล ผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐาน
- ประชาชนขาดความรู้ ด้านการผลิต การจำหน่าย และบรรจุภัณฑ์ ทำให้ต้องลงทุนสูงแต่ได้ผลผลิตต่ำ ไม่คุ้มต่อการลงทุน
- มีแหล่งเงินกู้จากบริษัทเอกชนจำนวนมาก ได้แก่บริษัทจัดเงินกู้ระบบต่าง ๆ บัตรเครดิต สินเชื่อประเภทใช้ก่อนผ่อนทีหลัง และภาครัฐก็สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนต่างลงสู่หมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้ประชาชนมีช่องทางในการกู้เงินเพื่อนำมาใช้จ่ายฟุ่มเฟือยมากขึ้น ไม่นำเงินที่กู้ยืมจากกองทุนหมุนเวียนต่างๆ ไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพอย่างแท้จริง ทำให้เกิดหนี้สินเพิ่มขึ้น
- ไม่จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของครัวเรือน ไม่มีการวางแผนการใช้จ่ายเงิน ทำให้ใช้จ่ายเงินมากกว่ารายรับ
ด้านสังคม
- ปัญหาหนี้สินกระทบถึงสภาพทางสังคม มีการอพยพแรงงาน เข้าสู่เมืองใหญ่ ทิ้งภาระ เด็ก เยาวชน ให้อยู่อาศัยกับผู้สูงอายุ หรือญาติ ครอบครัวขาดความอบอุ่น เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว ติดยาเสพติด ดื่มสุรา สูบบุหรี่ตั้งแต่อายุยังน้อย
- มีแหล่งมั่วสุม ร้านเกมส์ สนุกเกอร์ บ่อนการพนัน สื่อลามกที่หาซื้อได้ไม่ยาก
- เยาวชนรวมกลุ่มกันมีกิจกรรมรบกวนสังคม แข่งจักรยานยนต์เสียงดัง
- การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคโลกาภิวัตน์ มีทั้งผลดี ผลเสีย เป็นยุคอิเล็กทรอนิกส์ ยุคบริโภคนิยม ทำให้การใช้จ่ายของประชาชนฟุ่มเฟือย การใช้จ่ายในสิ่งไม่จำเป็น เกิดปัญหาการลักเล็กขโมยน้อย อาชญากรรม ต้มตุ๋นเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก
- ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย เกิดปัญหาการบุตรก่อนวัยอันควร ปัญหาโรคที่เกิดจากเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์
- ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว
- มีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น ถูกทอดทิ้งไม่ได้รับการดูแลจากบุตรหลาน เป็นภาระต่อสังคมต้องดูแล และให้ความช่วยเหลือ
ด้านการศึกษา
- ประชาชนมีการศึกษาน้อย ขาดความรู้ด้านการประกอบอาชีพ ไม่คุณวุฒิและประสบการณ์การทำงานที่มีทักษะ ขาดโอกาสทางการต่อรองค่าจ้างแรงงาน
- ผู้ปกครองนักเรียนมีฐานะยากจน ไม่ส่งบุตรหลานศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ขาดโอกาสทางการศึกษา
- บุคลากรด้านการศึกษาไม่เพียงพอ ต่อจำนวนนักเรียน
ด้านการสาธารณสุข
- ปัญหาสุขภาพอนามัย ประชาชนส่วนใหญ่เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพ และเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลให้แก่ครัวเรือน
- ปัญหาโรคติดต่อ เช่นโรคไข้เลือดออก ทำให้สูญเสียชีวิตที่พบ 1-2 รายเกือบปี ปัญหาโรคไข้หวัดนก การปฏิบัติตนของประชาชนไม่ถูกต้อง
- ปัญหาการประกันสุขภาพ ประชาชนยังไม่ได้รับความเสมอภาคทางการรักษาพยาบาล
- ปัญหาการใช้ยา ประชาชนยังซื้อยากินเอง
- ปัญหาโรคเอดส์

ด้านศาสนา วัฒนธรรม และประเพณี
- ในสภาวะการณ์ทางสังคมที่บีบรัด ทำให้ประชาชนเหินห่างจากศาสนา เด็กเยาวชน รวมถึงผู้ใหญ่ในปัจจุบันไม่มีคุณธรรม จริยธรรม การปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาลดน้อยลงทุกวัน ประกอบกับพฤติกรรมของพระสงฆ์ ที่ไม่สำรวม และผิดศีล ทำให้เกิดความเสื่อมศรัทธา บางวัดมีพระสงฆ์จำศีลเพียงรูปสองรูป หรือพระมีความขัดแย้งกัน จึงทำให้ประชาชนไม่สนใจทำบุญเข้าวัดฟังธรรม
- ปัญหาความเสื่อมทางวัฒนธรรมของไทย การนอบน้อมถ่อมตน การเคารพผู้ใหญ่ กิริยามารยาทของเยาวชนเปลี่ยนแปลงไปตามค่านิยม การเลียนแบบที่ไม่เหมาะสม การแต่งตัวล่อแหลมเสี่ยงต่อภัยต่าง ๆ
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
- ระบบประปายังมีไม่ครบทุกหมู่บ้าน
ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
- สารพิษตกค้างในแหล่งน้ำ ในดิน จากการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร ทำให้ดินมีความเสื่อมโทรม ได้ผลผลิตต่ำ มีสารพิษตกค้างในผลผลิต ผลผลิตถูกกดราคา เกษตรกรได้รับสารพิษจากสารเคมีในกระบวนการผลิต สุขภาพเสื่อมโทรม

2. ให้ท่านอธิบายโดยแสดงเหตุ แสดงผล รวมตลอดถึงจุดแข็ง จุดอ่อน ของลักษณะประชากรในท้องถิ่นที่ท่านมองเห็น หรือค้นพบ (อาจจากเอกสารหรือจากการระดมสมอง) และใช้ข้อมูลจากชุมชนของท่านประกอบการอภิปราย และแยกให้เห็นแต่ละลักษณะอย่างชัดเจน เช่น ลักษณะประชากรด้านอายุ อาชีพ การศึกษา ทักษะ / ความสามารถ รายได้ สุขภาพ และลักษณะพิเศษเฉพาะ ทั้งนี้เพื่อการดำเนินการต่อไป
ข้อมูล สภาพทั่วไป ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์
1. ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง
ตั้งอยู่ในเขตที่ราบลุ่ม อยู่บนแม่น้ำน่านทั้ง 2 ฝั่งห่างจากอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ไปทางทิศใต้ประมาณ 22 กิโลเมตร ได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2538 จัดเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ชั้น 4
เนื้อที่
เนื้อที่ประมาณ 120 ตารางกิโลเมตร หรือ 75,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังแดงเกือบทั้งหมด ยกเว้นบางส่วนของบ้านวังหิน หมู่ที่ 4 และบ้านใหม่พัฒนา หมู่ที่ 10 บ้านวังหินพัฒนา หมู่ที่ 12 ตำบลวังแดง จัดได้ว่ามีพื้นที่ขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับตำบลอื่นในอำเภอเดียวกัน
อาณาเขต
มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลหาดกรวด ตำบลวังกะพี้ อำเภอเมือง และตำบลไผ่ล้อม อำเภอลับแล
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลบ้านแก่งและตำบลหาดสองแคว อำเภอตรอน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลน้ำอ่าง อำเภอตรอน และตำบลป่าคาย อำเภอทองแสนขัน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลข่อยสูง อำเภอตรอน
การปกครอง
- จำนวนหมู่บ้านในเขต อบต.เต็มทั้งหมู่บ้าน 9 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ 1 บ้านท่าอวน
หมู่ที่ 2 บ้านวังแดงหมู่สอง
หมู่ที่ 3 บ้านวังแดง
หมู่ที่ 5 บ้านใหม่เยาวชน
หมู่ที่ 6 บ้านใหม่โพธิ์เย็น
หมู่ที่ 7 บ้านห้วยพิกุลทอง
หมู่ที่ 8 บ้านหัวดาน
หมู่ที่ 9 บ้านป่าควง
หมู่ที่ 11 บ้านวังแดงหมู่สิบเอ็ด
- จำนวนหมู่บ้านในเขต อบต.เต็มบางส่วน 3 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ 4 บ้านวังหิน
หมู่ที่ 10 บ้านใหม่พัฒนา
หมู่ที่ 12 บ้านวังหินพัฒนา
ประชากร
ประชากร ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2552 รวมทั้งสิ้น 9,301 คน เป็นชาย 4,529 คน หญิง 4,772 คน หมู่ที่ 3 บ้านวังแดง มีประชากรมากที่สุด จำนวน 1,608 คน หรือร้อยละ 17.28 รองลงมา คือ หมู่ที่ 11 บ้านวังแดง จำนวน 1,449 คน หรือร้อยละ 15.57 ส่วนหมู่บ้านที่มีประชากรน้อยที่สุด คือหมู่ที่ 12 บ้านวังหินพัฒนา จำนวน 238 คน หรือร้อยละ 2.55 มีความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ย 77.5 คน ต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร
ที่มา : สำนักทะเบียนอำเภอตรอน (มิถุนายน 2552)



2. ข้อมูลทางกายภาพ
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำเกิดอยู่บริเวณ 2 ฝั่งของแม่น้ำน่านและลำน้ำสาขาที่ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำน่าน สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ราบเรียบมีระดับความสูงของพื้นที่ประมาณ 50 – 100 เมตร จากระดับน้ำทะเลลาดเอียงจากเหนือเขาที่อยู่ห่างไปทางทิศตะวันออก แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. ที่ราบลุ่มแม่น้ำน่าน เป็นบริเวณสองฝั่งแม่น้ำน่าน และลำน้ำสาขาที่ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำน่าน สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ค่อนข้างราบเรียบ และพื้นที่ในตำบลวังแดง หมู่ที่ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 8, 10, 11 และบางส่วนของตำบลซึ่งเหมาะสำหรับการทำเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีการทำนาปีละ 2 – 3 ครั้ง
2. ที่ภูเขาและที่สูง มีพื้นที่ประมาณร้อยละ 5 ของตำบล อยู่ในบริเวณหมู่ที่ 3 หมู่ที่ 9 และ หมู่ที่ 7 เป็นพื้นที่ที่มีความสมบูรณ์ โดยเฉพาะป่าชุมชนเขาเหล็ก และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกป่า

สาธารณูปโภค
1. มีการประปาส่วนภูมิภาค จำนวน 1 แห่ง ให้บริการในเขตตำบลวังแดง
2. ในระดับหมู่บ้านมีการบริการประปาหมู่บ้านจากหมู่บ้าน ดำเนินการในรูปคณะกรรมการประปา
3. มีไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทั่วถึงทุกหมู่บ้าน ส่วนไฟฟ้าสาธารณะมีเฉพาะเขต
ชุมชนหนาแน่น

ปริมาณน้ำฝน
สถิติข้อมูลปริมาณฝนในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ระหว่างปี 2548–2552 จะอยู่ในช่วง 1,083.9 มิลลิเมตร ถึง 2,241.0 มิลลิเมตร ฝนตกมากที่สุดในปี 2549 วัดได้ 2,241.0 มิลลิเมตร จำนวนวันฝนตก 124 วัน ส่วนฝนตกน้อยที่สุดในปี 2551 วัดได้ 1,083.9 มิลลิเมตร จำนวนวันฝนตก 103 วัน

อุณหภูมิ
สถิติข้อมูลอุณหภูมิในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ระหว่างปี 2548–2552 มีอุณหภูมิต่ำสุด (เฉลี่ย) จะอยู่ในช่วง 17.23 - 26.34 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสูงสุด (เฉลี่ย) จะอยู่ในช่วง 30.79 - 38.57 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิสูงสุดในรอบ 5 ปี วัดได้ 38.57 องศาเซลเซียส ในเดือนเมษายน 2547 และอุณหภูมิต่ำสุดในรอบ 5 ปี วัดได้ 17.23 องศาเซลเซียส ในเดือนธันวาคม 2547
สภาพทางเศรษฐกิจ
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพภาคเกษตรกรรม ร้อยละ 44.01 รองลงมาคือ ภาคแรงงาน (รับจ้าง) ร้อยละ 36.92 , ค้าขาย ร้อยละ 8.52 , เลี้ยงสัตว์ ร้อยละ 3.64 , รับราชการ รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 3.23 , เผาถ่าน ร้อยละ 1.75 และอื่น ๆ อีกร้อยละ 1.93
การประกอบอาชีพ สาขาการเกษตรกรรม ตำบลวังแดง แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ที่สำคัญได้ 3 ด้าน คือ
1) ด้านการกสิกรรม
ข้อมูลพื้นฐานด้านอาชีพ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมด้านการปลูกพืชที่ทำรายได้ให้กับตำบลสูงสุด เป็นพืชเศรษฐกิจระดับตำบลที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ที่สามารถทำได้ทั้งนาปี และนาปรัง รองลงมาคือ การเพาะปลูกพืชไร่ ได้แก่ ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย และไม้ยืนต้น ประเภท มะม่วง กระท้อน น้อยหน่า พุทรา ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีการปลูกผักปลอดสารพิษในเขตพื้นที่ริมแม่น้ำน่านที่เหมาะสมกับการทำเกษตรกรรมอย่างยิ่ง พื้นที่บางส่วนของตำบลอยู่ห่างไกลจากแหล่งน้ำ การชลประทานไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก ประชาชนจึงทำการปลูกไม้ยืนต้น ประเภทยูคาลิปตัสเพื่อตัดจำหน่าย และเพื่อทำฟืน หรือเผาถ่านขาย
มีพื้นที่ทางกสิกรรม จำนวน 26,356 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 35.14 ของพื้นที่ทั้งหมด แบ่งเป็น
- นาข้าว 83.24 % - ผลไม้ 1.19 %
- พืชไร่ 7.21 % - ไม้ยืนต้น 0.73 %
- พืชผัก 4.72 % - การเกษตรอื่น ๆ 2.91 %
2) ด้านการปศุสัตว์
ตำบลวังแดง มีเกษตรกรที่ทำอาชีพด้านปศุสัตว์ประมาณ 416 ครัวเรือน ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร รายย่อย ที่มีการประกอบอาชีพด้านการปลูกพืชเป็นอาชีพหลัก และมีการเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพเสริม ซึ่งสามารถจำแนกได้ 3 ประเภท คือ
- สัตว์ใหญ่ เช่น โค กระบือ
- สัตว์เล็ก เช่น สุกร
- สัตว์ปีก เช่น ไก่เนื้อ ไก่พื้นเมือง ไก่ไข่ เป็ดเทศ เป็ดเนื้อ เป็ดไข่ นกกระทา



3) ด้านการประมง
การเลี้ยงสัตว์น้ำ มีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น มีเกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประมาณ 322 ราย จำนวนพื้นที่เพาะเลี้ยงราว 110 ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่เพาะเลี้ยง ปลานิล ปลาทับทิม ปลาตะเพียน ปลาไน ปลายี่สกเทศ ปลาดุกบิ๊กอุย ปลาสวาย รูปแบบการเลี้ยงมีทั้งแบบขุดบ่อเลี้ยงปลา และการเลี้ยงปลาในกระชังริมแม่น้ำน่านซึ่งไหลผ่าน 10 หมู่บ้าน จากทั้งหมดทั้งตำบล 12 หมู่บ้าน นอกจากนี้มีศูนย์วิจัยพันธุ์สัตว์น้ำจังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งผลิตพันธุ์ปลา สามารถให้บริการและสนับสนุนเกษตรกรทั้งทางด้านวิชาการและพันธุ์สัตว์น้ำในพื้นที่ได้อย่างสะดวก
สาขาด้านอุตสาหกรรม เนื่องจากตำบลวังแดงเป็นพื้นที่เกษตรกรรม จึงไม่มีโรงงานอุตสาหกรรม มีโรงสีที่รับสีข้าวของเกษตรกร โรงสีขนาดใหญ่ 3 โรง และโรงสีขนาดเล็กจำนวนยังมีไม่มากนักเมื่อเทียบกับความต้องการของเกษตรกรตำบลวังแดงซึ่งมีอาชีพทำนาข้าวเป็นหลัก
หน่วยธุรกิจในเขต อบต.
- ปั๊มน้ำมันและก๊าซ 6 แห่ง
- โรงสี 3 แห่ง
3. สภาพทางสังคม
1. สถาบันการศึกษา
- โรงเรียนประถมศึกษา 6 แห่ง
- โรงเรียนมัธยมศึกษา (ขยายโอกาส) 1 แห่ง
- ศูนย์เด็กเล็ก 2 แห่ง
- ศูนย์การเรียนชุมชน 1 แห่ง
2. สถาบันและองค์กรทางศาสนา
- วัด / สำนักสงฆ์ 9 แห่ง
- โบสถ์ 9 แห่ง
3. สาธารณสุข
- สถานีอนามัยประจำตำบล / หมู่บ้าน 2 แห่ง
4. การบริการพื้นฐาน
4.1 การคมนาคม
การเดินทางสามารถติดต่อกับตำบลอื่น ๆ และต่างจังหวัดได้หลายทาง ทั้งทางรถยนต์ รถไฟ มีทางหลวงแผ่นดินสาย 11 (อุตรดิตถ์ - พิษณุโลก) ผ่าน และมีถนนสายรองภายในอำเภอ ตำบล ได้แก่ สาย 1166 (ท่าสัก – ตรอน) สาย 1204 (บ้านแก่ง – น้ำพี้) และสาย 1104 (อุตรดิตถ์ - พิชัย)
4.2 การไฟฟ้า
มีไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทั่วถึงทุกหมู่บ้าน ส่วนไฟฟ้าสาธารณะมีเฉพาะเขตชุมชนหนาแน่น องค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง มีโครงการขยายเขตบริการโดยเพิ่มไฟฟ้าสาธารณะ (ไฟรายทาง) ตามหมู่บ้าน จำนวน 12 หมู่บ้าน
4.3 แหล่งน้ำธรรมชาติ
- ลำน้ำ , ลำห้วย 2 แห่ง (แม่น้ำน่าน, ห้วยพิกุลทอง)
- บึง, หนองอื่น ๆ 6 แห่ง
4.4 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- ฝาย 3 แห่ง
- บ่อน้ำตื้น 78 แห่ง
- บ่อบาดาล 153 แห่ง
- ระบบประปาหมู่บ้าน 12 แห่ง
- คลองระบายน้ำ 8 แห่ง
- สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 8 แห่ง
- สระเก็บน้ำประจำไร่นา 27 แห่ง
- ถังกลม ฝ.33 98 แห่ง

5. ข้อมูลอื่น ๆ
5.1 ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมท้องถิ่น
ตำบลวังแดงมีขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่สำคัญและนิยมปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน โดยแบ่งลักษณะทางวัฒนธรรมได้ 2 วัฒนธรรม คือ
กลุ่มวัฒนธรรมสยามหรือกลุ่มวัฒนธรรมลุ่มน้ำ เป็นกลุ่มวัฒนธรรมแบบภาคกลางใช้
ภาษาไทยกลาง ตำบลวังแดงจัดอยู่ในสำเนียงภาษาสุโขทัย เป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในแถบลุ่มน้ำน่าน
กลุ่มวัฒนธรรมแบบเวียงจันทน์ (กลุ่มชนที่ถูกกวาดต้อนมาจากหัวเมืองของเวียงจันทน์
(พ.ศ.2369 - 2375) หลังสงครามปราบกบฎเจ้าอนุวงษ์) ชนกลุ่มวัฒนธรรมนี้จะอาศัยอยู่ในเขตบ้านวังแดง นอกจากนี้ยังอยู่ในตำบลบ้านแก่ง ตำบลหาดสองแคว เขตอำเภอตรอน อีกด้วย

5.2 งานประเพณีที่สำคัญ
- ประเพณีไหลแพไฟ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองเนื่องใน วันที่ 5 ธันวามหาราช การจัดงานถือว่าเป็นงานระดับอำเภอ โดยงานจะมีขึ้นในวันที่ 3 – 5 ธันวาคม เป็นประจำทุกปี ณ วัดวังแดง 3 ตำบลวังแดง
- ประเพณีสงกรานต์ วันที่ 13 – 15 เมษายนของทุกปี
- ประเพณีลอยกระทง ตรงกับขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
- ประเพณีตักบาตรเทโวหลังวันออกพรรษา จัดงานใหญ่ ณ วัดวังแดง 3 มีขบวนแห่เทวดา นางฟ้า เปรต ที่ยิ่งใหญ่ พร้อมร่วมทำบุญตักบาตรที่วัด
- ประเพณีรำกลองยาว เป็นประเพณีอันเก่าแก่ของหมู่ 8 บ้านหัวดาน มีวงรำกลองยาว ที่มีเอกลักษณ์ มีเนื้อร้อง เครื่องดนตรี ที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานาน
- ประเพณีทำบุญกลางบ้าน ซึ่งเป็นประเพณีที่แต่ละหมู่บ้านร่วมจัดทำขึ้นในหมู่บ้าน โดยทุกหลังคาเรือนในหมู่บ้านจะทำการโยงฝ้ายขาวจากหลังหนึ่งต่ออีกหลังหนึ่งไปจนครบทุกหลังคาเรือนในหมู่บ้านและจัดสถานที่ที่อยู่กลางหมู่บ้าน ในวันงานชาวบ้านจะนำข้าวปลาอาหารมาร่วมทำบุญตักบาตร ถวายเพลพระภิกษุ และสามเณร
5.3 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตำบลวังแดง มีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนา ดังนี้
1) ทรัพยากรดิน ตำบลวังแดงมีพื้นที่ดินประมาณ 74,525 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นดินเหนียว พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ซึ่งเหมาะแก่การกสิกรรม บางส่วนเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย ซึ่งเกษตรกรใช้เป็นพื้นที่ทำพืชไร่ และไม้ผล
2) ทรัพยากรน้ำ มีแม่น้ำน่านเป็นแม่น้ำสายหลักใหญ่ผ่านหมู่ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 8, 10, 11, 12 มีสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จำนวน 8 สถานี มีประมงหมู่บ้าน หนองคันนา หนองอ้อ หนองหญ้าปล้อง หนองปรือ หนองตุ้ม หนองเลน หนองบัวแดง คลองบางกลอง ฯลฯ ที่สามารถเอื้ออำนวยต่อการทำเกษตรกรรมของประชากรในพื้นที่
3) ทรัพยากรป่าไม้ ตำบลวังแดงมีทรัพยากรป่าไม้ไม่มากนัก เนื่องจากตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำ ไม่มีแนวเขา ภูเขาที่มีอยู่เป็นลักษณะเขาโดด ต้นไม้ใหญ่ไม่หนาแน่น บางเขาเป็นป่าไผ่ ประกอบด้วย ป่าชุมชนเขาเหล็ก ในเขตหมู่ที่ 3 , เขากก ในเขตหมู่ที่ 8 และเขาไก่เขี่ย ในพื้นที่หมู่ 1, 2 และ หมู่ 9 จัดเป็นป่าเบญจพรรณ
4) ทรัพยากรแร่ มีแร่ที่สำคัญ คือ แร่เหล็ก ในพื้นที่ป่าชุมชนเขาเหล็ก หมู่ 3 ซึ่งมีพื้นที่ป่าประมาณ 400 ไร่ แต่ยังไม่นำมาใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ

5.4 แหล่งท่องเที่ยว
- แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และศาสนสถาน ได้แก่ วัดเขาไก่เขี่ย (วัดดอยสวรรค์) , วัดศรัทธาพร หมู่ 1 , วัดวังแดงสอง หมู่ 2 , วัดวังแดง หมู่ 3 , วัดวังหิน หมู่ 4 , วัดบ้านใหม่เยาวชน หมู่ 5 , วัดใหม่โพธิ์เย็น หมู่ 6 , วัดห้วยพิกุลทอง หมู่ 7 และวัดถาวรสามัคคีธรรม หมู่ 8 เป็นต้น
- แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้แก่ สวนนกธรรมชาติป่าชุมชนเขาเหล็ก หมู่ 3 ,สาธารณะบึงทับกระดาน หมู่ 11 ,วังมัจฉา (วังปลา) วัดวังแดง 3 ,วัดบ้านใหม่โพธิ์เย็น หมู่.6 ,วัดสัจจาราษฎร์บำรุง ,ถนนต้นราชพฤกษ์สวยที่สุดในภาคเหนือ (ต้นคูณ) และศูนย์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพชรมณี
5.5 การกีฬาและนันทนาการ
ในตำบลวังแดงมีสนามกีฬาประจำตำบล ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 10 ในเขตที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลวังแดงที่สามารถใช้เล่นกีฬาบาสเกตบอล วอลเลย์บอล ตะกร้อ แบดมินตัน ใช้เป็นสถานที่ออกกำลังกายของเยาวชนประชาชน รวมทั้งจัดสร้างสนามเปตองไว้ในบริเวณเดียวกันเพื่อให้บริการเยาวชนและประชาชน ได้เล่นกีฬาหลากหลายประเภทรวมทั้งสนามกีฬาโรงเรียนต่าง ๆ ในพื้นที่ตำบลวังแดงอีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีสวนสุขภาพที่จัดสร้างขึ้นในบริเวณสวนสาธารณะบึงทับกระดาน หมู่ที่ 10 เพื่อให้บริการประชาชนทุกเพศ ทุกวัยได้ออกกำลังกายกันถ้วนหน้า
การพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลวังแดงนั้น เป็นการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการร่วมคิด ร่วมแก้ไขปัญหา ร่วมสร้าง ร่วมจัดทำ ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น ในทุกด้าน การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลวังแดงจะสมบูรณ์ได้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชนในพื้นที่เกิดความตระหนักร่วมกันแก้ไขปัญหาและความเข้าใจในแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง องค์การบริหารส่วนตำบลวังแดงได้เน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาในทุกกลุ่มทุกวัยของประชากร นอกจากนี้ยังได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้การศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน และพัฒนาเยาวชนให้พร้อมที่จะเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ โดยยึดกรอบแนวทางในการจัดระเบียบการศึกษา ส่วนการพัฒนาอาชีพนั้น จะเน้นพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในท้องถิ่น โดยส่วนรวมการวิเคราะห์ภารกิจ อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และรวบรวมกฎหมายอื่น ๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบล ให้เทคนิค SWOT เข้ามาช่วย ทั้งนี้เพื่อให้ทราบว่าองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาในเขตพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของประชาชนได้อย่างไร โดยวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ในการดำเนินการตามภารกิจ ตามหลัก SWOT Analysis องค์การบริหารส่วนตำบลวังแดงกำหนดวิธีการดำเนินการตามภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น


การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis)
ผลการวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อการประเมินสถานภาพการพัฒนาในปัจจุบันและโอกาสการพัฒนาในอนาคตของท้องถิ่น ด้วยเทคนิค SWOT Analysis ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังแดงดังนี้

จุดแข็ง (S - Strength) 1. การคมนาคมสะดวก การเดินทางสามารถติดต่อกับตำบลอื่น ๆ และต่างจังหวัดได้หลายทาง ทั้งทาง รถยนต์ รถไฟ
2. มีพื้นที่เชื่อมต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีกหลายแห่ง ซึ่งมีเส้นทางที่สามารถพัฒนา
เพื่อการขนส่งสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชนให้ได้ความรวดเร็ว รักษาคุณภาพและราคา
ของสินค้า ไว้ได้
3. มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ภายในตำบล ทำให้เกษตรกรสามารถทำเกษตรกรรมได้ตลอดทั้งปี และเป็นสวนสาธารณะ แหล่ง ท่องเที่ยว
4. มีแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และศาสนถาน ได้แก่ วัดเขาไก่เขี่ย
5. มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้แก่ สวนนกธรรมชาติป่าชุมชนเขาเหล็ก หมู่ 3 ,สาธารณะบึงทับกระดาน หมู่ 11 ,วังมัจฉา (วังปลา) วัดวังแดง 3 ,วัดบ้านใหม่โพธิ์เย็น หมู่.6 ,วัดสัจจาราษฎร์บำรุง ,ถนนต้นราชพฤกษ์สวยที่สุดในภาคเหนือ (ต้นคูณ) และศูนย์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพชรมณี
6. มีแหล่งน้ำ กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ หากได้รับการจัดการ ดูแลที่ดี จะช่วยให้มีน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และเพื่อการเกษตรได้ตลอดปี
7. มีทรัพยากรแร่ ซึ่งมีแร่ที่สำคัญ คือ แร่เหล็ก ในพื้นที่ป่าชุมชนเขาเหล็ก หมู่ 3 ซึ่งมีพื้นที่ป่าประมาณ 400 ไร่ แต่ยังไม่นำมาใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ
8. มีประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่สำคัญและนิยมปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ กลุ่มวัฒนธรรมสยามหรือกลุ่มวัฒนธรรมลุ่มน้ำ เป็นกลุ่มวัฒนธรรมแบบภาคกลางใช้
ภาษาไทยกลาง ตำบลวังแดงจัดอยู่ในสำเนียงภาษาสุโขทัย เป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในแถบลุ่มน้ำน่าน,
กลุ่มวัฒนธรรมแบบเวียงจันทน์, ประเพณีไหลแพไฟ, ประเพณีตักบาตรเทโว, ประเพณีทำบุญกลางบ้าน ฯลฯ
9. ประชากรยึดถือการดำรงชีวิตตามประเพณีและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของการร่วมกันในสังคมอย่างเอื้ออาทรต่อกัน มีการยึดหลักธรรมศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ มีความเคารพในสิทธิเสรีภาพต่อกัน ซึ่งมีความสำนึกรู้จักใช้ทรัพยากรในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างมีคุณค่าและหวงแหนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีประโยชน์ในการดำรงชีวิตของคนชุมชนอย่างยั่งยืน
10. มีศูนย์วิจัยพันธุ์สัตว์น้ำจังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งผลิตพันธุ์ปลา สามารถให้บริการและสนับสนุนเกษตรกรทั้งทางด้านวิชาการและพันธุ์สัตว์น้ำในพื้นที่ได้อย่างสะดวก
11.มีแม่น้ำน่านเป็นแม่น้ำสายหลักใหญ่ผ่านหมู่ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 8, 10, 11, 12 มีสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จำนวน 8 สถานี มีประมงหมู่บ้าน หนองคันนา หนองอ้อ หนองหญ้าปล้อง หนองปรือ หนองตุ้ม หนองเลน หนองบัวแดง คลองบางกลอง ฯลฯ ที่สามารถเอื้ออำนวยต่อการทำเกษตรกรรมของประชากรในพื้นที่

จุดอ่อน (W - Weaknesses)
1. พบว่าปัญหาทางด้านทรัพยากรดินที่สำคัญของตำบลวังแดง คือ ดินเป็นดินทราย ดินตื้นที่เป็นลูกรัง และดินตื้น ดินมีความเป็นกรดรุนแรง
2. ประชากรส่วนใหญ่ในตำบลมีฐานะความเป็นอยู่ในระดับที่ ไม่ผ่านเกณฑ์รายได้มาตรฐาน จปฐ.
3. มีประชาชนที่ไม่ได้รับการศึกษาตามเกณฑ์จำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยมากเกิดจากการขาดรายได้ที่พอเพียง
4. ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารบ้านเมืองน้อย
5. เยาวชนทะเลาะวิวาท
6. เยาวชนรับวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามามากเกินไป
7. มีปัญหาลักเล็กขโมยน้อย ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จากอาชญากรรมและอุบัติเหตุ
8. การมีส่วนร่วมของประชาชนทางการเมือง การบริหารจัดการมีน้อย
9. การดูแลสวัสดิการสังคมยังไม่ทั่วถึง
10. ประชาชนขาดความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการประกอบอาชีพ
11. สาธารณูปการยังไม่ครอบคลุม ไม่เพียงพอกับความต้องการ เช่น ไฟฟ้าสาธารณะมีเฉพาะในเขตชุมชนหนาแน่น
12. การชลประทานไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก
13. โรงสีขนาดเล็กมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ

โอกาส (O – Opportunity)
1. นโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนของรัฐบาล
2. นโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมและสนับสนุนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจท้องถิ่น ระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ เป็นต้น
3. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัดมีความชัดเจน
4. มีศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร
5. ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย
6. พรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ พ.ศ. 2547 ทำให้ท้องถิ่นได้รับการกระจายอำนาจมากขึ้น
7. นโยบายการปฏิรูปทางการเมืองของรัฐบาล ทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจการของรัฐได้รับการยอมรับมากขึ้น ทำให้เกิดกระบวนการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
8. การขยายตัวทางเศรษฐกิจในภาพรวม ทำให้มีการกระจายความเจริญมาสู่ท้องถิ่น เกิดการเรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ นำมาใช้ในการพัฒนา
9. มีการขยายโอกาสทางการศึกษา , มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

อุปสรรค (T – Threat)
1. ราคาผลผลิตทางการเกษตรไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับกลไกราคาของตลาดโลก
2. ภัยธรรมชาติส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของเกษตรกร
3. การจัดสรรงบประมาณของส่วนกลางไม่ตรงกับความต้องการในการแก้ไขปัญหาหรือการพัฒนาของท้องถิ่น
4. ข้อจำกัดของ พรบ. กฎ ระเบียบ ไม่เอื้อต่อการพัฒนา
5. ปัญหายาเสพติด แหล่งอบายมุขเป็นการมอบเมาเยาวชน ก่อให้เกิดปัญหาสังคม
6. การรับวัฒนธรรมทางตะวันตกที่ไม่เหมาะสมของเยาวชน

3. ให้ท่านพิจารณาปัญหาทรัพยากรมนุษย์ในชุมชนที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของท่านรับผิดชอบ ซึ่งอาจเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่ หรือปัญหาเก่า ๆ ที่สะสมหมักหมมเป็นเวลาช้านาน แต่ขาดการดูแลแก้ไข โดยการหยิบยก ปัญหาที่สำคัญ ๆ เท่านั้นมาวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา พร้อมทั้งกำหนดวิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาอย่างชัดเจน
ปัญหา หมายถึง สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการเสียสิทธิ เสียโอกาส เสียประโยชน์ ที่ซึ่งต้องการแก้ไข
ปัญหาสาธารณะ หมายถึง สภาพการณ์ที่เกิดช่องว่างระหว่างความมุ่งหวังกับความเป็นจริง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำรงอยู่และการพัฒนาสังคม ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบไม่เพียงแต่บุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรงเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงบุคคลอื่นในสังคมด้วย และต้องการการแก้ไขบรรเทาปัญหาในลักษณะที่เป็นระบบ เพราะปัญหาสาธารณะไม่มีความเป็นเอกเทศ โดยที่เมื่อเกิดปัญหาหนึ่งขึ้น อาจก่อให้เกิดผลกระทบเชื่อมโยงไปยังปัญหาอื่น ๆ อีก จนกลายเป็นลูกโซ่ของปัญหา

จากประเด็นปัญหาและสาเหตุของปัญหาดังกล่าวข้างต้น กลุ่มใช้แนวคิดของหน่วยงาน ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ของ องค์การสหประชาชาติ ที่ให้แนวคิดว่าด้วย การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา โดย กำหนดเกณฑ์ที่จะใช้สำหรับการจัดลำดับความสำคัญ รวม 6 เกณฑ์ ประกอบด้วย
1. ขนาดของกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบ
2. ความร้ายแรงและความเร่งด่วนของปัญหา
3. ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
4. การยอมรับร่วมกันของชุมชน
5. ศักยภาพของชุมชน
6. ศักยภาพทางกายภาพ
และได้กำหนดน้ำหนักคะแนนของเกณฑ์ โดยให้ความสำคัญของเกณฑ์ ไม่เท่ากัน เรียงลำดับจากความสำคัญมากไปถึงความสำคัญน้อย
นำข้อมูลปัญหา และเกณฑ์ในการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา มาจัดทำเป็นตารางการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา แล้วทำการประเมิน ปรากฏว่า ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ มีน้ำหนักคะแนนสูงสุด กลุ่มจึงตัดสินใจเลือก ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจมาดำเนินการกำหนดทางเลือก เนื่องจากหากปัญหาทางด้านเศรษฐกิจได้รับการแก้ไขแล้ว จะส่งผลให้ปัญหาทางด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกัน เช่น ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสาธารณสุข ตลอดจนด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนทางด้านการเมืองการปกครองก็พลอยได้รับการแก้ไขไปด้วย
3.2 การตัดสินใจ
ในการวิเคราะห์ทางเลือกในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว กลุ่มมีความเห็นว่าควรใช้ตัวแบบ วิธีการประเมินความเป็นไปได้ (Feasibility Assessment Techniques) ซึ่งเป็นวิธีการวิเคราะห์ทางเลือกของนโยบายที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของอัตวิสัยของผู้กำหนดนโยบาย โดยใช้ความเห็นส่วนตัวประเมินสถานการณ์ต่าง ๆในลักษณะที่เป็นระบบ สามารถทำได้โดยการวิเคราะห์เป็นกลุ่ม มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหา โดยมุ่งพิจารณามิติของพฤติกรรมทางการเมืองและพฤติกรรมในองค์การที่สำคัญ 3 มิติด้วยกัน คือ
ก. จุดยืนในประเด็นนโยบาย (issue position)
ข. ทรัพยากรที่มีอยู่ (available)
ค. ลำดับความสำคัญมากน้อยของทรัพยากรที่มีอยู่ของแต่ละกลุ่ม (relative resource rank)
นอกจากการนำแนวคิดในการใช้ วิธีการประเมินความเป็นไปได้ (Feasibility Assessment Techniques) ยังมีการนำเอาแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวคิดในการพัฒนาเศรษฐกิจที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าเป็นแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญที่มุ่งเน้น ความพอเพียง และ ความพอมี พอกิน มาเป็นข้อพิจารณา นอกจากนี้ กลุ่มยังได้นำเอาศักยภาพของชุมชนและศักยภาพทางกายภาพ มาเป็นข้อพิจารณาในการวิเคราะห์ทางเลือกด้วย
องค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้วิเคราะห์สภาพปัญหา สภาพทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ข้างต้น จึงกำหนดเป็นปัญหาที่สำคัญ จำนวน 5 ปัญหา ดังนี้
1. ปัญหาด้านเศรษฐกิจ เช่น ปัญหาการเป็นหนี้สินของประชากร ที่เกิดจากการประกอบอาชีพ ต้นทุนสูง ได้ผลผลิตต่ำไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในการลงทุน
2. ปัญหาสังคม มีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น และถูกทอดทิ้งไม่ได้รับการดูแลจากบุตรหลาน เป็นภาระต่อสังคมต้องดูแล และให้ความช่วยเหลือ, การอพยพแรงงาน เข้าสู่เมืองใหญ่ ทิ้งภาระ เด็ก เยาวชน ให้อยู่อาศัยกับผู้สูงอายุ หรือญาติ ครอบครัวขาดความอบอุ่น เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว ติดยาเสพติด ดื่มสุรา สูบบุหรี่ตั้งแต่อายุยังน้อย

3. ปัญหาด้านการศึกษา มี ปัญหาประชาชนมีการศึกษาน้อย ขาดความรู้ด้านการประกอบอาชีพ ไม่คุณวุฒิและประสบการณ์การทำงานที่มีทักษะ ขาดโอกาสทางการต่อรองค่าจ้างแรงงาน
4. ปัญหาด้านสาธารณสุข ประชาชนส่วนใหญ่เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพ และเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลให้แก่ครัวเรือน
5. ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มีสารพิษตกค้างในแหล่งน้ำ ในดิน จากการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร ทำให้ดินมีความเสื่อมโทรม ได้ผลผลิตต่ำ มีสารพิษตกค้างในผลผลิต ผลผลิตถูกกดราคา เกษตรกรได้รับสารพิษจากสารเคมีในกระบวนการผลิต สุขภาพเสื่อมโทรม

โดยมีแนวคิดในการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ดังนี้
ความสำคัญของปัญหา กำหนดให้ค่าคะแนน
1. ปัญหาวิกฤติ ค่าคะแนน 5 คะแนน
2. กระทบกับคนหมู่มาก ค่าคะแนน 5 คะแนน
3. รุนแรงกว้างขวาง ค่าคะแนน 5 คะแนน
4. กระทบต่อปัญหาอื่น ค่าคะแนน 5 คะแนน
5. ปัญหาปัจจุบัน ค่าคะแนน 5 คะแนน
6. สนับสนุนนโยบาย ค่าคะแนน 5 คะแนน











ความสำคัญของปัญหา
ปัญหาวิกฤติ
5
กระทบกับคนหมู่มาก
5
รุนแรงกว้างขวาง
5
กระทบต่อปัญหาอื่น
5
ปัญหาปัจจุบัน
5
สนับสนุนนโยบาย
5
รวมคะแนน
30
1.ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ
5
5
5
5
5
5
30
2.ปัญหาสังคม
4
5
4
4
4
5
26
3.ปัญหาการศึกษา
4
5
4
4
4
4
25
4.ปัญหาด้านสาธารณสุข
3
5
5
5
5
-
23
5.ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4
4
4
4
4
4
24
วิเคราะห์จากการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ตามตารางการให้คะแนนตามลำดับ ดังนี้
1 ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ (หนี้สินของประชาชน) ได้ค่าคะแนน 30 คะแนน ถือเป็นปัญหาสำคัญที่สุดเนื่องจาก การประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ ทำสวน และการเลี้ยงสัตว์ ต้องลงทุนสูง ได้ผลผลิตไม่เพียงพอต่อภาระค่าใช้จ่าย ทำให้มีปัญหาหนี้สิน ประกอบกับไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง ไม่มีอาชีพเสริมรองรับประชาชน จึงส่งผลให้ประชาชนหันไปประกอบอาชีพรับจ้างเพิ่มขึ้น
2. ปัญหาสังคม ได้ค่าคะแนน 28 คะแนน ถือเป็นปัญหาอันดับสอง เนื่องจากองค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง มีเยาวชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวนมาก ที่มีปัญหามาจากการถูกละเลยของคนในครอบครัวเพราะเด็ก ๆ เยาวชนส่วนใหญ่ อยู่กับ ปู่ ย่า ตา ยาย ทำให้ไม่ได้รับการเอาใจใส่ อบรม เลี้ยงดู จากพ่อแม่ที่ต้องไปขายแรงงานในเมืองหลวง เพราะไม่มีอาชีพเสริมรองรับหลังจากเสร็จฤดูกาลเก็บเกี่ยว
3. ปัญหาด้านการศึกษา ได้ค่าคะแนน 20 คะแนน ถือเป็นปัญหา อันดับสาม
เนื่องจาก ประชาชนในตำบลวังแดง ส่วนหนึ่งมีการศึกษาน้อย ขาดความรู้ด้านการประกอบอาชีพ ไม่คุณวุฒิและประสบการณ์การทำงานที่มีทักษะ ขาดโอกาสทางการต่อรองค่าจ้างแรงงาน
4. ปัญหาด้านสาธารณสุข ได้ค่าคะแนน 20 คะแนน ถือเป็นปัญหาสำคัญ อันดับสุดท้าย
เนื่องจากส่งผลกระทบต่อประชาชนส่วนน้อย ประชาชนที่เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพ และเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลให้แก่ครัวเรือน
- 5. ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ค่าคะแนน 24 คะแนน ปัญหาสำคัญ อันดับสสี่ เนื่องจากสารพิษตกค้างในแหล่งน้ำ ในดิน จากการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร ทำให้ดินมีความเสื่อมโทรม ได้ผลผลิตต่ำ มีสารพิษตกค้างในผลผลิต ผลผลิตถูกกดราคา เกษตรกรได้รับสารพิษจากสารเคมีในกระบวนการผลิต สุขภาพเสื่อมโทรม

ในเบื้องต้น กลุ่มได้เสนอทางเลือกในการแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ (การหนี้สินของประชาชน) ดังนี้
1. การจัดทำโครงการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชน โดยจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน
2. จัดตั้งศูนย์จำหน่ายสินค้าชุมชน
3. จัดตั้งกลุ่มแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร
4. จัดตั้งศูนย์ฝึกอาชีพ
5. โครงการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวภายในชุมชน
จากการเปรียบเทียบทางเลือกและเรียงลำดับความสำคัญตามตัวแบบ วิธีการประเมินความเป็นไปได้ (Feasibility Assessment Techniques) ปรากฏว่า โครงการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชน เป็นทางเลือกที่มีคะแนนสูงสุด โดยกลุ่มมีความเห็นพ้องด้วย เนื่องจาก
1. ช่วยยกมาตรฐานการครองชีพของคนในท้องถิ่น
2. ช่วยสร้างความเจริญทางสังคมให้แก่ท้องถิ่น
3. ช่วยอนุรักษ์ฟื้นฟูวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
4. ก่อให้เกิดประโยชน์ด้านการศึกษา
5. ช่วยลดปัญหาการอพยพย้ายถิ่นของชุมชนท้องถิ่น
6. ช่วยกระตุ้นให้มีการคิดค้นนำทรัพยากรส่วนเกินมาทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ในการเกษตรและการจำหน่าย
7. ช่วยสร้างสันติภาพและความสามัคคี
3.3 การวิเคราะห์ผลกระทบ
ในการการวิเคราะห์ผลกระทบ คือ กระบวนการที่จะปรับปรุงกระบวนการตัดสินใจและสร้างความมั่นใจที่มีต่อการพัฒนา เป็นกระบวนการกิจกรรมที่สร้างทางเลือกของการพัฒนาที่มีความเหมาะสมทางสิ่งแวดล้อม สุขภาพ สังคม และมีความยั่งยืนในการพัฒนา มีกระบวนการประเมินผลกระทบ ที่ต้องการการระบุ (identification) การคาดการณ์ (Prediction) และการประเมินผล (Evaluation) การพัฒนาก่อนที่จะดำเนินการ
ในการดำเนินการ ขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชน โดยการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ โดยกลุ่มได้ดำเนินการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจจะเกิดตามมา ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
2. ด้านการพัฒนาชุมชนและวัฒนธรรมท้องถิ่น
3. ด้านการพัฒนาการเมืองการปกครองท้องถิ่น
4. ด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
3.3.1 การวิเคราะห์ผลกระทบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
ผลกระทบทางบวก
- ประชาชนในชุมชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
- ระบบเศรษฐกิจในชุมชนมีการกระจายตัวมากขึ้น
- การหมุนเวียนเงินตราในชุมชนมีมากขึ้น
- มีแหล่งเงินทุนจากการรวมกลุ่มกันประกอบวิสาหกิจชุมชน
- ฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น
ผลกระทบทางลบ
ในทางตรงกันข้าม จากการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนดังกล่าว หากขาดซึ่งกระบวนการต่อยอดของโครงการ หรือการได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนอย่างเป็นระบบแล้ว อาจก่อให้เกิดผลกระทบในด้านลบ กล่าวคือ
- เกิดภาวะหนี้สินตามมา กรณีไม่มีระบบการใช้จ่ายที่รัดกุม หรือเกิดการใช้จ่ายฟุ้งเฟ้อเกินความจำเป็น
- เกิดการแย่งชิงทรัพยากร กรณีไม่มีระบบแบบแผนการใช้ทรัพยากรที่เป็นธรรมเด่นชัด
- เกิดการกระจายตัวทางเศรษฐกิจที่ไม่เท่าเทียมกัน กรณีจัดรูปแบบโครงการที่ไม่เป็นธรรม หรือเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากเกินไป หรือรูปแบบการบริหารโครงการให้อำนาจแก่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากเกินไป
3.3.2 การวิเคราะห์ผลกระทบด้านการพัฒนาชุมชนและวัฒนธรรมท้องถิ่น
ผลกระทบทางบวก จากการร่วมกันทำกิจกรรมโดยให้มีการมีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบ ย่อมส่งผลทำให้เกิดการพัฒนาชุมชนอย่างเข้มแข็ง เกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน เกิดวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม เกิดระบบความสามัคคีในชุมชนและวัฒนธรรมประชาธิปไตยขึ้นจากการเป็นสมาชิกชองโครงการ
ผลกระทบทางลบ การพัฒนาที่สุดโต่ง ไร้ระบบควบคุมที่ดีที่ควรจะเป็นแล้ว จะเกิดปัญหาด้านความแตกแยกกันเนื่องจากการแก่งแย่งทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด เกิดระบบแบ่งพรรคแบ่งพวก
3.3.3 การวิเคราะห์ผลกระทบด้านการพัฒนาการเมืองการปกครองท้องถิ่น
ผลกระทบทางบวก กล่าวคือ ภาคประชาชนเกิดทัศนะที่ดีทางบวกต่อการดูแลเอาใจใส่ปัญหาทุกข์สุขของประชาชน เกิดความคิดอยากร่วมพัฒนาและก่อให้เกิดกิจกรรมการเมืองการปกครอง มีระบบการมีส่วนร่วมของประชาชนมากขึ้น เกิดปรากฏการณ์การเมืองเข้มแข็ง เกิดวิสัยทัศน์ร่วมกันในการทำงาน เกิดกระบวนการเรียนรู้และการบริหาร
3.3.4 การวิเคราะห์ผลกระทบด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
ผลกระทบทางบวก
- เกิดการจัดสรร การใช้ทรัพยากรที่เป็นธรรม
- เกิดกระบวนการเรียนรู้ มีการนำทรัพยากรมาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า
- เกิดกระบวนการความรัก ความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของทรัพยากรสิ่งแวดล้อม
ผลกระทบทางลบ
- เกิดความเสื่อมโทรมและการสูญสลายด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อมกรณีขาดการวางแผนพัฒนาที่เป็นธรรม
4. รูปแบบและองค์กรที่รับผิดชอบต่อการจัดเวทีสัญจรเพื่อระดมความเห็นและ
การสนับสนุน
ภายหลังจากการดำเนินการวิเคราะห์ผลกระทบในด้านต่าง ๆ ว่าจะมีผลกระทบอย่างไร กลุ่มได้กำหนดแนวทางในการจัดให้มีเวทีสัญจร เพื่อระดมความเห็นเกี่ยวกับนโยบายที่ได้รับการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาตลอดจนเป็นการรับฟังความคิดเห็นว่าประชาชนผู้มีส่วนได้เสียจะสนับสนุนนโยบายดังกล่าวหรือไม่ เพียงใด
การดำเนินการจัดให้มีเวทีสัญจรเพื่อระดมความเห็นและการสนับสนุน ได้มีการจัดทำปฏิทินเพื่อกำหนดตารางเวลาในการดำเนินงาน ดังมีรายละเอียด ดังนี้

ครั้งที่
กิจกรรมที่ทำ
สถานที่
ผู้รับผิดชอบ
1
ประชาคม
ประชาชนทั่วไป
ศาลาประชาคม
อปท.และผู้นำชุมชน
2
ประชาคม
ประชาชนเป้าหมาย
ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน
อปท.และผู้นำชุมชน
3
ประชาคม ครู พระและคณะกรรมการ
โรงเรียน วัด
อปท.และผู้นำชุมชน
4
ประชาคม ผู้นำชุมชน
สำนักงาน อปท.
อปท.และผู้นำชุมชน
จากการจัดให้มีเวทีสัญจรเพื่อระดมความเห็นและการสนับสนุน ได้มีการประชุมโดย มีการกำหนดประเด็น กรอบแนวความคิดในการวิเคราะห์ สำรวจความคิดเห็นโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ และรับฟังข้อเสนอแนะและวิเคราะห์ผล ปรากฏว่า ประชาชนทั่วไป , ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้การยอมรับและสนับสนุนโครงการดังกล่าวอยู่ในระดับดี
การหาสาเหตุของปัญหา มีแนวทางดำเนินการดังนี้
เมื่อได้ประเด็นปัญหาที่สำคัญที่สุดแล้ว นำปัญหาดังกล่าวมาวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา ดังนี้
3.1 พิจารณาว่าปัญหานั้นมีสภาพอย่างไร จึงส่งผลให้เกิดปัญหานั้นๆ
3.1 ค้นหาสาเหตุของปัญหาให้ครบทุกแง่มุม
3.3 ค้นหาปัญหาจากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
3.4 เมื่อได้สาเหตุของปัญหาคลอบคลุมในทุกๆด้านแล้วพิจารณาว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหานั้นๆ
การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา มีแนวทางดังต่อไปนี้
1) การทำแบบสำรวจ (questionnaire) ทำแบบสอบถามไปยังประชาชน
2) การสัมภาษณ์ตัวบุคคลที่อยู่กับปัญหาโดยตรง
3) การฝังอยู่ในเหตุการณ์
4) การระดมสมองโดยใช้เทคนิคในการหาสาเหตุของปัญหา ซึ่งเรียกว่า แผนผังก้างปลา (Fishbone Diagram) พิจารณาปัญหาจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏ เนื่องจากเงื่อนไขของระยะเวลา ซึ่งรูปแบบอื่นๆที่กล่าวมาข้างต้นต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการนาน และจากการระดมสมองวิเคราะห์หาสาเหตุปัญหา
การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาด้านเศรษฐกิจ (การเป็นหนี้สินของประชาชน)
ในการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ได้กำหนดวิธีการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา โดยใช้ทฤษฎีการตัดสินใจ
ทฤษฎีการตัดสินใจ
1. ทฤษฎีหลักการและเหตุผล (The Rational – Comprehensive theory)
ทฤษฎีนี้ยึดถือประโยชน์สูงสุดของประชาชนในสังคม หมายถึง การตัดสินใจทางเลือกใด ๆ ต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนทางสังคมมากกว่าต้นทุน (Cost) ที่ใช้จ่ายไป เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคม และควรยกเลิกทางเลือกหรือนโยบายที่มีต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายสูงกว่าค่าตอบแทน (Benefit)
จุดเด่น คือ เป็นตัวแบบที่อยู่บนพื้นฐานของการแสวงหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจค่อนข้างดีที่สุด ผู้กำหนดจะเข้าใจปัญหาอย่างแท้จริง สามารถระบุทางเลือกที่ดีที่สุดได้
จุดด้อย คือ ในโลกของความเป็นจริงการกำหนดนโยบายยากที่จะเป็นไปตามหลักของการตัดสินใจที่ยึดหลักเหตุผล เพราะผู้กำหนดต้องเผชิญกับข้อจำกัดหลายประการ เช่น ข้อมูล เวลา ทรัพยากร ประโยชน์และต้นทุน
2. ทฤษฎีส่วนเพิ่ม (The Incremental Theory)
เกิดจากแนวคิดของลินบอล์ม (Charlles E. Lindlom) โดยถือว่านโยบายเป็นความต่อเนื่องของกิจกรรมของรัฐบาลในอดีตเป็นนโยบายที่เคยปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่องหรือซ้ำเติม ไม่ได้คิดขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพียงแต่นำมาแก้ไขเพิ่มเติมเล็กน้อยเท่านั้น และมีลักษณะเป็นนโยบายแบบค่อยเป็นค่อยไป
จุดเด่น คือ ง่ายต่อการกำหนดนโยบาย ลดความเสี่ยง ประหยัด รวดเร็ว เพราะไม่ใช่นโยบายที่ริเริ่มใหม่ และมักจะเป็นไปได้ทางการเมือง การเงิน และการบริหารสูง
จุดด้อย คือ ไม่มีการพัฒนาความคิดริเริ่มใหม่ ๆ ไม่ท้าทายความสามารถ และทำให้ขาดนโยบายแผนงาน โครงการใหม่ ๆ
3. ทฤษฎีการตัดสินใจแบบผสมผสาน (Mixed Scanning Theory)
เป็นการผสมผสานระหว่างทฤษฎีที่ 1 และทฤษฎีที่ 2 เป็นทางเลือกเพื่อทดแทนจุดอ่อนทั้ง 2 ทฤษฎี โดยเปิดโอกาสให้ใช้ทั้ง 2 ทฤษฎี ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เป็นการตัดสินใจแบบประนีประนอมระหว่าง 2 ทฤษฎี

การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ (การเป็นหนี้สินของประชาชน) กลุ่มได้นำทฤษฎีการตัดสินใจแบบผสมผสาน (Mix Scanning Theory) และใช้เทคนิคผังก้างปลา (Fishbone Diagram) มาใช้ในการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
เพื่อให้การหาสาเหตุของปัญหาปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ (การเป็นหนี้สินของประชาชน) มีความแม่นตรง อยู่บนพื้นฐานที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด จึงต้องมีการรวบรวมข้อมูล โดยวิธีการเก็บข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่การสังเกตการณ์ ใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ และข้อมูลปฐมภูมิ จากการเก็บรวบรวมสถิติขององค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง อาทิเช่น ข้อมูล จปฐ.

สรุปสาเหตุของปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ (การเป็นหนี้สินของประชาชน) ดังนี้








เทคนิคในการหาสาเหตุของปัญหาโดยใช้ผังก้างปลา

- การประกอบอาชีพ ใช้ต้นทุนสูง -ประชาชนขาด –ไม่มีการวาง
ความรู้ด้านการผลิต แผนการใช้จ่ายเงิน
ปัญหาการเป็นหนี้สินของประชาชน





-ไม่มีอาชีพเสริม - เป็นหนี้นอกระบบ -ราคาสินค้าสูงขึ้น
หลังฤดูเก็บเกี่ยว

ผลการวิเคราะห์ปัญหาการเป็นหนี้สินของประชาชน สรุปได้ดังนี้
1. ประชาชนในตำบลวังแดงมีหนี้สินที่เกิดจากการประกอบอาชีพ ต้นทุนสูง ได้ผลผลิตต่ำไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในการลงทุน ประกอบกับประสบปัญหาภัยแล้ง และอุทกภัย ทำให้มีหนี้สินเพิ่มมากขึ้นทุกปี
2. ประชาชนในตำบลวังแดงขาดความรู้ ด้านการผลิต การจำหน่าย และบรรจุภัณฑ์ ทำให้ต้องลงทุนสูงแต่ได้ผลผลิตต่ำ ไม่คุ้มต่อการลงทุน
3. ประชาชนในตำบลวังแดงไม่จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของครัวเรือน ไม่มีการวางแผนการใช้จ่ายเงิน ทำให้ใช้จ่ายเงินมากกว่ารายรับ
4. ประชาชนไม่มีอาชีพเสริมหลังฤดูการเก็บเกี่ยว ทำให้ประชาชนมีรายได้น้อยไม่
เพียงพอต่อการใช้จ่ายในครัวเรือน เกิดปัญหาหนี้สิน ประชาชนว่างงาน มีการ
5. มีแหล่งเงินกู้จากบริษัทเอกชนจำนวนมาก ได้แก่บริษัทจัดเงินกู้ระบบต่าง ๆ บัตรเครดิต สินเชื่อประเภทใช้ก่อนผ่อนทีหลัง และภาครัฐก็สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนต่างลงสู่หมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้ประชาชนมีช่องทางในการกู้เงินเพื่อนำมาใช้จ่ายฟุ่มเฟือยมากขึ้น ไม่นำเงินที่กู้ยืมจากกองทุนหมุนเวียนต่างๆ ไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพอย่างแท้จริง ทำให้เกิดหนี้สินเพิ่มขึ้น
6. ราคาสินค้าทั้งอุปโภค-บริโภค ปรับขึ้นราคา ประชาชนได้รับผลกระทบโดยตรง


4. ให้ท่านเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา โดยใช้ประโยชน์จากลักษณะประชากร ตามข้อ 2 อย่างน้อย 2 แนวทาง และใน 2 แนวทางนี้ ขอให้ท่านเลือกแนวทางที่เหมาะสมที่สุด พร้อมทั้งชี้ให้เห็นเกณฑ์หรือเหตุผลในการเลือกแนวทางที่ท่านเห็นว่าเหมาะสมที่สุด และนำแนวทางที่ท่านเลือกมาดำเนินการดังต่อไปนี้
4.1 กำหนดนโยบายเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
4.2 กำหนดเป้าหมายเชิงนโยบายที่ต้องการบรรลุ
4.3 กำหนดยุทธศาสตร์หรือโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
4.4 คาดคะเนผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นโดยมีตัวชี้วัดความสำเร็จที่ชัดเจน
4.5 ระยะเวลาและแผนการปฏิบัติการและ
4.6 คำนวณค่าใช้จ่ายหรืองบประมาณที่ต้องใช้
การแก้ไขปัญหาการเป็นหนี้สินของประชาชน โดยการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชน มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการเป็นหนี้สินของประชาชน ในระดับหนึ่งให้เกษตรกรสามารถช่วยตนเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาอาศัยคนอื่น จึงเห็นสมควรส่งเสริมให้เกษตรกรดำเนินการตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ตามนโยบายของรัฐบาล โดยการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองและจำหน่ายเพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้ในครัวเรือน ลดรายจ่ายในครัวเรือน ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เหลือจำหน่ายมีรายได้เพิ่มขยายโอกาสให้เกษตรกรได้เรียนรู้ แก้ปัญหาความยากจนคุณภาพชีวิตดีขึ้น

กลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาการเป็นหนี้สินของประชาชน
โดยใช้ผังก้างปลา

- ลดต้นทุนการผลิต -จัดอบรมให้ความรู้ด้านการผลิต –การจัดทำแผนการใช้จ่ายเงิน

การแก้ปัญหาการเป็นหนี้สินของประชาชน





-หาอาชีพเสริมการเพิ่มรายได้ - หาแหล่งเงินทุน/ -ลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์

แนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจน (การเป็นหนี้สินของประชาชน)
1. การพัฒนาคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ เพื่อลดต้นทุนการผลิต
2. ส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ จัดฝึกอบรมให้ความรู้และพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพและจัดหาทุนในการประกอบอาชีพ
3. ส่งเสริมให้ครัวเรือนมีการจัดทำบัญชีรายรับ รายจ่ายเพื่อวางแผนการใช้จ่ายเงิน
4. เพื่อให้เกษตรกรมีอาชีพเสริม, ลดปัญหาการว่างงาน และเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว
5. ส่งเสริมการออมทรัพย์ โดยจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพ์ในชุมชนเพื่อระดมทุนให้กู้ยืม
6. กระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงความจำเป็นและคุ้มค่าในการใช้จ่ายเงิน

กำหนดวัตถุประสงค์ที่พึ่งปรารถนาที่ต้องการใช้ในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญที่สุด
วัตถุประสงค์ (Objective) หมายถึง ข้อความที่สามารถตรวจวัดได้เกี่ยวกับผลสำเร็จของแผนงานโครงการที่คาดว่าจะทำได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด การกำหนดวัตถุประสงค์ จะต้องสามารถวัดได้ ในแง่ปริมาณ คุณภาพ เวลา ต้นทุน ฯลฯ
เป้าหมายที่มีความเฉพาะเจาะจง มีผลลัพธ์ที่สามารถวัดได้อย่างเป็นรูปธรรม เมื่อเทียบกับจุดมุ่งหมายขององค์กรในระดับอื่น วัตถุประสงค์เป็นถ้อยแถลงของสิ่งที่องค์การต้องการบรรลุ ซึ่งโดยปกติวัตถุประสงค์ถูกกำหนดในรูปของความต้องการภายใต้กำหนดระยะเวลาที่แน่นอน
นอกจากนี้วัตถุประสงค์ มักจะถูกกำหนดในปริมาณที่ชัดเจนและสามารถวัดได้ วัตถุประสงค์ยังเป็นส่วนสำคัญสำหรับความสำเร็จขององค์การ เนื่องจากวัตถุประสงค์เป็นเครื่องมือกำหนดทิศทางที่เป็นรูปธรรม ซึ่งช่วยประเมินการยอมรับ การจัดสรรทรัพยากร และการกำหนดกฎเกณฑ์ เพื่อวางแผนการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ลักษณะของวัตถุประสงค์ที่ดีขององค์การ ควรมีลักษณะดังนี้
- ต้องเป็นที่ทราบและเข้าในในหมู่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ต้องมีความสมดุล
- มีส่วนช่วยให้สามารถระบุถึงผลที่คาดว่าจะได้รับอย่างชัดเจน
- ต้องสามารถเปลี่ยนแปลง (ยืดหยุ่น) ได้ตามข้อจำกัดและอิทธิพลต่าง ๆ
- ต้องสามารถวัดได้
- ควรสามารถทำได้หรือมีความเป็นไปได้
- ควรได้รับการยอมรับโดยบุคลากรในองค์การ
- ควรเขียนให้ชัดเจนเป็นที่เข้าใจง่าย
ในการเขียนวัตถุประสงค์ทางกลุ่มได้ใช้หลักการเขียนวัตถุประสงค์ SMART ดังนี้
- Specific ต้องเฉพาะเจาะจงชัดเจน
- Measurable วัดผลได้
- Attainable บรรลุได้
- Realistic สมเหตุสมผล
- Time – Bound ในเวลาเท่าใด
ประโยชน์ของการกำหนดวัตถุประสงค์ของการกำหนดนโยบาย
1. เพื่อกำหนดทิศทางและแนวทางในการดำเนินการแก่ผู้บริหารทุกระดับ
2. เพื่อช่วยในการกระจายทรัพยากร
3. เพื่อช่วยในการกำหนดค่านิยม วัฒนธรรมร่วม
4. เพื่อช่วยผู้บริหารในการประเมินศักยภาพ
วัตถุประสงค์ที่พึงปรารถนาที่ต้องการแก้ไขปัญหาความยากจน
1. ลดต้นทุนการผลิตสินค้าทางการเกษตรลงอย่างน้อยร้อยละ 20 ของต้นทุนที่ผ่านมา
2. ประชาชนมีทักษะในการประกอบอาชีพและมีทุนในการประกอบอาชีพ
3. ครัวเรือนมีการจัดทำบัญชีรายรับ รายจ่ายเพื่อวางแผนการใช้จ่ายเงิน
4. เกษตรกรมีอาชีพเสริม, ลดปัญหาการว่างงาน และเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว
5. มีสหกรณ์ออมทรัพ์ในชุมชนเพื่อระดมทุนให้กู้ยืม ร้อยละ 60 ของประชากร มีเงินออมโดยสถาบันการเงินในชุมชน
6. ประชาชนตระหนักถึงความจำเป็นและคุ้มค่าในการใช้จ่ายเงิน มีการลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยในครัวเรือนมากขึ้น

การวิเคราะห์ทางเลือก โดยใช้ตัวแบบในการตัดสินใจดังนี้
1. ตัวแบบการตัดสินใจตามหลักเหตุผล (The Rational – Comprehensive Model)
- นโยบายเป็นผลอันเนื่องมาจากการตัดสินใจ ด้วยความมีเหตุผล เพื่อได้ผลประโยชน์สูงสุดแต่ใช้งบประมาณน้อย โดยจะมีการวิเคราะห์ผลดีผลเสียแต่ละทางเลือก แล้วจึงตัดสินใจเลือก
- ผู้กำหนดนโยบายต้องกำหนดเป้าหมาย โดยจัดลำดับความสำคัญตามความต้องการและศึกษาวิเคราะห์การตัดสินใจ
2. ตัวแบบส่วนเพิ่ม (Incremental Model)
- กำหนดนโยบายต่อเนื่องจากนโยบายเดิม
- ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์
- ผู้เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ยอมรับว่าเป็นนโยบายที่ดี
- ผู้กำหนดนโยบายมักเลือกที่จะทำตามนโยบายเดิมเพื่อลดความขัดแย้ง แต่อาจมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจากเดิมบ้าง
ในการค้นหาทางเลือก กลุ่มได้นำตัวแบบส่วนเพิ่ม (Incremental Model) มาเป็นตัวแบบที่ค้นหาทางเลือกเพียง 2 – 3 ทางเลือกมาวิเคราะห์ โดยไม่ต้องค้นหาทางเลือกทั้งหมด และทำการวิเคราะห์โดยใช้หลักเปรียบเทียบ (Cost benefit Analysis Model)
กลุ่มได้นำเสนอทางเลือก 3 ทางเลือก ดังนี้
1. จัดให้มีการทำอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ในครัวเรือน โดยการจัดทำโครงการเลี้ยงโคเนื้อ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
2. จัดให้มีโครงการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์( ผลิตปุ๋ยอินทรีย์, ปุ๋ยชีวภาพ,และปุ๋ยพืชสด) เพื่อลดต้นทุนการผลิต
3. จัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ตำบลเพื่อเป็นสถาบันการเงินในชุมชน

การพิจารณาต้นทุนและผลประโยชน์ตอบแทนของแต่ละทางเลือก
1. จัดให้มีการทำอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ในครัวเรือน โดยการจัดทำโครงการเลี้ยงโคเนื้อ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
ค่าใช้จ่าย 1. ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมอาชีพ หมู่บ้านละ 10,000 บาท จำนวน 12 หมู่บ้าน
= 10,000 x 12 = 120,000 บาท
2. ค่าใช้จ่ายจัดซื้อโคเนื้อเพื่อให้ยืมครอบครัวละ 1 ตัว ๆ ละ 10,000 บาท
= 10,000 x 120 = 1,200,000 บาท
รวมรายจ่ายทั้งสิ้น 1,320,000 บาท ผู้รับประโยชน์ 120 คน
2. จัดให้มีโครงการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์( ผลิตปุ๋ยอินทรีย์, ปุ๋ยชีวภาพ,และปุ๋ยพืชสด) เพื่อลดต้นทุนการผลิต
ค่าใช้จ่าย 1. ค่าใช้จ่ายในการจัดฝึกอบรมการผลิตปุ๋ย 60,000 บาท (เกษตรกร 300 คน)
2. จัดซื้อเครื่องผลิตปุ๋ยชีวภาพ 1 เครื่อง ราคา 20,000 บาท
3. จัดซื้อวัสดุในการทำปุ๋ยครั้งแรก 30,000 บาท
4. ค่าจัดทำโรงเรือนหมักปุ๋ยสำหรับกลุ่ม 300,000 บาท
รวมรายจ่ายทั้งสิ้น 441,000 บาท ผู้รับประโยชน์ 300 คน
3. จัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ตำบลเพื่อเป็นสถาบันการเงินในชุมชน
ค่าใช้จ่าย 1. ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมประชาคมรับฟังความคิดเห็นประชาชนในชุมชน
(12 หมู่บ้าน) หมู่บ้านละ 5,000 บาท (300 คน) = 5,000 x 12 = 60,000 บาท
2. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่าง ๆ เช่นประชุมคณะกรรมการ ค่าวัสดุ จำนวน 12,000 บาท
3. ค่าก่อสร้างอาคารสหกรณ์พร้อมที่ดิน 500,000 บาท
รวมรายจ่ายทั้งสิ้น 572,000 บาท ผู้รับประโยชน์ 300 คน

ตารางเปรียบเทียบทางเลือกโดยการคำนวณหาค่าใช้จ่าย (Cost) และผลตอบแทน (Benefit)

ทางเลือกที่หนึ่ง
ทางเลือกที่สอง
ทางเลือกที่สาม
อาชีพเสริม
ผลิตปุ๋ย
จัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ตำบล
ต้นทุน
ประโยชน์
ต้นทุน
ประโยชน์
ต้นทุน
ประโยชน์
1,320,000 บาท
120 คน
441,000 บาท
300 คน
572,000 บาท
300 คน
จากการเปรียบเทียบทางเลือก โดยการคำนวณหาค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์ที่ได้รับแล้ว จะเห็นได้ว่า ทางเลือกที่สอง คือ การส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ ( ปุ๋ยชีวภาพ,และปุ๋ยพืชสด เพื่อลดต้นทุนการผลิต) เพราะเป็นทางเลือกที่ใช้ต้นทุนต่ำ แต่ถ้าผู้ได้รับผลประโยชน์จำนวนมาก จึงเลือกทางเลือกที่สองเพื่อกำหนดนโยบายต่อไป
หลักการและเหตุผล
ในสภาพปัจจุบันการทำการเกษตร ต้องพึ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทั้งปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และพืชพันธุ์ใหม่ทั้งหมดนี้ต้องใช้เงินซื้อหามาทั้งสิ้น นอกจากนี้เกษตรกรยังต้องทุ่มเทเวลาในการจัดหาเทคโนโลยีและละเลยการผลิตเพื่อการบริโภคซึ่งจำเป็นต่อชีวิต กลับฝากความหวังไว้กับการผลิตเพื่อการขาย ขายได้แล้วจึงนำเงินมาซื้อที่ดินอีกต่อหนึ่งแต่ผลที่ได้นั้นไม่เป็นอย่างที่คิด เพราะมูลค่าของผลผลิตที่ขายได้ไม่คุ้มกับที่ลงทุนไป จากสภาพปัญหาดังกล่าว กลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยพืชสด องค์การบริหารส่วน ตำบลวังแดง พิจารณาแล้วเห็นว่า การส่งเสริมให้เกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์ จะเป็นช่องทางหนึ่งที่จะลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร ผลผลิตทางการเกษตร ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและผู้ผลิตและเป็นการเกษตรที่รักษาสมดุลของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และช่วยปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงนโยบายด้านเศรษฐกิจต่อสังคมต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 ที่กำหนดไว้ในนโยบายเศรษฐกิจรัฐบาล และถือปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4.1 การกำหนดนโยบายเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
นโยบายสาธารณะ Public Policy ความหมาย แนวทางที่รัฐบาลตัดสินใจ
เลือกสิ่งที่รัฐบาลจะกระทำ หรือ งดเว้นที่จะกระทำ โดยกำหนด เป้าหมาย และ วิธีดำเนินการไว้ล่วงหน้า เพื่อแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของส่วนรวม
นโยบาย ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญต่อการบริหารงานภายในองค์กร เนื่องจากนโยบายเป็นการประกาศแนวทางการปฏิบัติงานในอนาคต เพื่อให้ทุกคนผูกพัน และถือปฏิบัติ นโยบายเป็นตัวควบคุมทิศทางขององค์กรให้ไปสู่วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ การขาดนโยบายทำให้แต่ละหน่วยงานดำเนินการไปคนละทิศทาง ทำให้เกิดการไม่สอดประสานงานไปด้วยกัน
ทางเลือกที่เหมาะสมจะนำไปแก้ไขปัญหา คือ โครงการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์( ผลิตปุ๋ยอินทรีย์, ปุ๋ยชีวภาพ,และปุ๋ยพืชสด) เพื่อลดต้นทุนการผลิต
องค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ จึงมีแนวทางในการกำหนดนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน(การเป็นหนี้สินของประชาชน) ที่สำคัญดังนี้
1. นโยบายจะต้องมีความน่าเชื่อถือศรัทธาของประชาชนที่มีผลต่อผู้กำหนด นโยบาย
2. นโยบายต้องมีผลโดยตรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
3. นโยบายต้องมีความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นที่มีอยู่
4. นโยบายไม่ส่งผลกระทบในเรื่องจริยธรรม
5. นโยบายจะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน เอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้กำหนด นโยบาย
6. นโยบายต้องมีความเป็นไปได้เป็นรูปธรรม

การกำหนดนโยบายสาธารณะ
องค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์
------------------------------------
กรณี : นโยบายการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและขจัดปัญหาความยากจน
ปัจจัยที่ใช้พิจารณาเพื่อการกำหนดนโยบาย
1. ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐาน ( Fundamental Factor )
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลระโยชน์ของกลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายได้แก่ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ ขององค์การบริหารส่วนตำบล
วังแดง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 12 หมู่บ้าน ประชากร ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2552 รวมทั้งสิ้น 9,301 คน เป็นชาย 4,529 คน หญิง อาชีพหลักคือเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์และรับจ้าง ปัจจัยพื้นฐานอันเป็นความจำเป็นในการดำรงชีวิตของมนุษย์เบื้องต้น ได้แก่ 1. ที่อยู่อาศัย 2. เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม 3. อาหาร 4. ยารักษาโรค จึงต้องหาข้อมูล กลุ่มเป้าหมาย สามารถหาสิ่งจำเป็นพื้นฐานนี้ ได้ด้วยตนเองอย่างเพียงต่อความต้องการแล้วหรือไม่ ถ้ายังไม่เพียงพอให้ศึกษาต่อว่ายังขาดเรื่องใด สาเหตุเนื่องจากอะไร นั่นคือ ทำอย่างไรให้ประชาชนอยู่ดี คือมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองอย่างถูกลักษณะไม่แออัด กินดี คือ มีกิน มีใช้ อย่างไม่ขาดแคลน ไม่เป็นหนี้และมีความสุขคือ มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ รายได้หลักของครอบครัว จะนำมาซึ่งปัจจัยพื้นฐาน และความจำเป็นอื่น ที่ปัจจุบันด้วยระบบเศรษฐกิจที่ต้องแลกเปลี่ยนด้วยเงินตราและประชาชนในเขตตำบลวังแดง มีรายได้เฉลี่ยต่อปี ค่อนข้างต่ำ อันเป็นสาเหตุให้เป็นข้อจำกัด ในการหาปัจจัย พื้นฐานที่จำเป็น รวมถึงปัจจัยอื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องของความต้องการให้เป็นที่ยอมรับของสังคม ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน
2. ปัจจัยที่เป็นสภาพแวดล้อม ( Environment Factor )
ปัจจัยทางการเมืองและวัฒนธรรมทางการเมือง
นโยบายทางการเมืองในระดับประเทศย่อมส่งผลในการกำหนดนโยบายสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จำเป็นต้องกำหนดให้มีความสอดคล้องในทิศทางเดียวกัน ในขณะเดียวกันก็จะต้องไม่ขัดต่อค่านิยมของคนในท้องถิ่น จึงมีการปรับเปลี่ยน เพื่อให้ตรงตามความต้องการของประชาชนในแต่ละพื้นที่ ซึ่งแสดงออกให้เห็นได้ว่ายอมรับได้หรือไม่ในแง่ของการชูนโยบายการหาเสียงเพื่อให้ได้รับความยอมรับจากประชาชน
ปัจจัยทางภูมิศาสตร์
จากสภาพทั่วไป บอกถึงสภาพพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง
ตั้งอยู่ในเขตที่ราบลุ่ม อยู่บนแม่น้ำน่านทั้ง 2 ฝั่งห่างจากอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ไปทางทิศใต้ประมาณ 22 กิโลเมตร อุณหภูมิในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ระหว่างปี 2548–2552 มีอุณหภูมิต่ำสุด (เฉลี่ย) จะอยู่ในช่วง 17.23 - 26.34 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสูงสุด (เฉลี่ย) จะอยู่ในช่วง 30.79 - 38.57 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิสูงสุดในรอบ 5 ปี วัดได้ 38.57 องศาเซลเซียส ในเดือนเมษายน 2549และอุณหภูมิต่ำสุดในรอบ 5 ปี วัดได้ 17.23 องศาเซลเซียส ในเดือนธันวาคม 2549 พบว่าดินในพื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวปนดินร่วน จัดว่ามีศักยภาพเหมาะสมต่อการเพาะปลูก อย่างไรก็ตามควรจะมีการปรับปรุงบำรุงดิน การเติมอินทรียวัตถุลงดิน โดยใช้พืชปุ๋ยสด ปุ๋ยหมัก ปูน การทำเกษตรแบบผสมผสาน การปลูกพืชหมุนเวียน และการทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินและยกระดับความเป็นกรดของดินให้เหมาะสม
โครงสร้างพื้นฐาน เขตพื้นที่ตำบลวังแดง นั้นจัดได้ว่าเป็นลักษณะของชนบท คือมีโครงสร้างพื้นฐานในด้านต่าง ๆ ยังไม่ครอบคลุมทั้งพื้นที่ ไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน การเดินทางสามารถติดต่อกับตำบลอื่น ๆ และต่างจังหวัดได้หลายทาง ทั้งทางรถยนต์ รถไฟ มีทางหลวงแผ่นดินสาย 11 (อุตรดิตถ์ - พิษณุโลก) ผ่าน และมีถนนสายรองภายในอำเภอ ตำบล ได้แก่ สาย 1166 (ท่าสัก – ตรอน) สาย 1204 (บ้านแก่ง – น้ำพี้) และสาย 1104 (อุตรดิตถ์ - พิชัย)
- เศรษฐกิจและสังคม ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพภาคเกษตรกรรม ร้อยละ 44.01 รองลงมาคือ ภาคแรงงาน (รับจ้าง) ร้อยละ 36.92 , ค้าขาย ร้อยละ 8.52 , เลี้ยงสัตว์ ร้อยละ 3.64 , รับราชการ รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 3.23 , เผาถ่าน ร้อยละ 1.75 และอื่น ๆ อีกร้อยละ 1.93 คนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ประชากรในตำบลมีหนี้สินที่เกิดจากการประกอบอาชีพ ต้นทุนสูง ได้ผลผลิตต่ำไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในการลงทุน ทำให้มีหนี้สินเพิ่มมากขึ้นทุกปี ประชาชนในตำบลวังแดงขาดความรู้ ด้านการผลิต การจำหน่าย และบรรจุภัณฑ์ ทำให้ต้องลงทุนสูงแต่ได้ผลผลิตต่ำ ไม่คุ้มต่อการลงทุน ไม่มีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของครัวเรือน ไม่มีการวางแผนการใช้จ่ายเงิน ทำให้ใช้จ่ายเงินมากกว่ารายรับ ประชาชนไม่มีอาชีพเสริมหลังฤดูการเก็บเกี่ยว ทำให้ประชาชนมีรายได้น้อยไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในครัวเรือน เกิดปัญหาหนี้สิน ปัญหาการว่างงาน มีแหล่งเงินกู้จากบริษัทเอกชนจำนวนมาก ได้แก่บริษัทจัดเงินกู้ระบบต่าง ๆ บัตรเครดิต สินเชื่อประเภทใช้ก่อนผ่อนทีหลัง และภาครัฐก็สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนต่างลงสู่หมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้ประชาชนมีช่องทางในการกู้เงินเพื่อนำมาใช้จ่ายฟุ่มเฟือยมากขึ้น ไม่นำเงินที่กู้ยืมจากกองทุนหมุนเวียนต่างๆ ไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพอย่างแท้จริง ทำให้เกิดหนี้สินเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาสินค้าทั้งอุปโภค-บริโภค ปรับขึ้นราคา ประชาชนได้รับผลกระทบโดยตรง
ด้วยปัจจัยต่าง ๆ ที่ประกอบกันข้างต้น องค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง จึงได้ให้ความสำคัญกับนโยบายด้านเศรษฐกิจเพื่อประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้นเป็นอันดับแรก และนั่นหมายถึงความต้องการที่ตรงใจประชาชนในพื้นที่ด้วยเช่นกัน

4.2 กำหนดเป้าหมายเชิงนโยบายที่ต้องการบรรลุ

จากที่ได้วิเคราะห์ประเด็นปัญหา สภาพปัญหา สาเหตุของปัญหา ตลอดจนเสนอนโยบายในการแก้ไขปัญหาการเป็นหนี้สินของประชาชน เมื่อนำมาเปรียบเทียบวิเคราะห์แต่ละทางเลือกแล้ว ทางเลือกที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหา คือ นโยบายการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและขจัดปัญหาความยากจน
ซึ่งนโยบายดังกล่าวจะเน้นในด้านการพัฒนาอาชีพและรายได้ของครอบครัวและชุมชน ด้านการส่งเสริมอาชีพและรายได้รวมทั้งความมั่นคงและยั่งยืนทางเศรษฐกิจของท้องถิ่น และด้านการส่งเสริมชุมชนให้มีศักยภาพในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้วยชุมชน
เป้าหมายที่ต้องการให้บรรลุตามนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจน คือ พัฒนาให้ประชาชนภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังแดงมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง สร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืนัฒนาให้รช่วยเหลือ และส่งเสริมอาชีพให้มีรายได้เพิ่มขึ้นนงกลุ่มได้เลือกในข้อ ือกยภาพในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการและเกื้อ

การนำนโยบายไปปฏิบัติ
องค์การบริหารส่วนตำบลวังแดงได้นำตัวแบบกระบวนการ(PPIP) ตามแนวคิดของ E.R Alexander (1985) ได้กล่าวว่าการศึกษาการนำนโยบายไปปฏิบัติในมิติของกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติมีหลายวิธีการและแต่ละวิธีการอาจเหมาะสมกับการวิเคราะห์เพื่อวัตถุประสงค์ประการใดประการหนึ่ง การศึกษากระบวนการการนำนโยบายไปปฏิบัติส่วนใหญ่ช่วยสร้างความเข้าใจบางส่วนโดยมักใช้วิธีการนิยามแนวความคิดของกระบวนการการนำนโยบายไปปฏิบัติที่เชื่อมแนวความคิดกับกิจกรรมของนโยบาย/แผนงาน/โครงการเข้าด้วยกันประกอบกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายไปปฏิบัติมีความซับซ้อน เทคนิคการคำนวณความน่าจะเป็นที่ใช้คาดคะเนผลของนโยบาย/แผนงาน/โครงการ และเทคนิคที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานก็ไม่สามารถสร้างความเข้าใจกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติในลักษณะภาพรวมเพราะยังไม่มีกรอบทั่วไปที่จะสามารถพรรณาและอธิบายกระบวนการในการนำนโยบายไปปฏิบัติทั้งกระบวนการได้ชัดเจน การนำตัวแปรปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานบางตัวที่มีความสำคัญมาใช้ในการศึกษาทำให้มุมมองของการศึกษาขาดความสมบูรณ์และไม่สามารถสร้างมุมมองแบบภาพรวม จากข้อจำกัดที่กล่าวมาข้างต้น E.R Alexander (1985) จึงพยายามเสนอตัวแบบกระบวนการนโยบายแผนงานและการนำไปปฏิบัติหรือเรียกสั้นๆ ว่า ตัวแบบกระบวนการซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนตัวแบบให้สอดคล้องกับแต่ละสถานการณ์ตัวแบบนี้สามารถสะท้อนความหลากหลายของบริบทของนโยบายระดับต่างๆ ของการปฏิบัติงานตามนโยบายปัจจัยต่างๆ ในขั้นตอนของการก่อตัวของนโยบายรวมทั้งการกำหนดนโยบายที่มีผลต่อเนื่องถึงตัวนโยบายระเบียบกฏเกณฑ์แผนงาน/โครงการในขั้นตอนการนำนโยบายไปปฏิบัติ














ก่อตัว/กำหนดนโยบาย
นำนโยบายไปปฏิบัติ

เวทีประชาคม
สาเหตุปัญหา
วิกฤตเศรษฐกิจ
ทางเลือก/ตัดสินใจ
แผนปฏิบัติ
POSSCORB
นโยบาย
แผนงานโครงการ






จุดเชื่อม

จุดเชื่อม

จุดเชื่อม

จุดเชื่อมห
- ระหว่างดำเนินการ
- เสร็จสิ้นการดำเนินการ
หยุด
หยุด
หยุด







4.3 กำหนดยุทธศาสตร์หรือโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
จากนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจน กลุ่มจึงได้จัดทำแผนกลยุทธ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังแดงซึ่งจำเป็นต้องสอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นจึงมีการวิเคราะห์ข้อมูลตามรายละเอียดและรูปแบบการวิเคราะห์ ดังนี้

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้วยเครื่องมือ SWOT
การวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสภาพการพัฒนาในปัจจุบันและโอกาสพัฒนาในอนาคตขององค์การ บริหารส่วนตำบลวังแดง
การวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสภาพการพัฒนาในปัจจุบันและโอกาสในการพัฒนา
ในอนาคตขององค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง เป็นการประเมินถึงโอกาสและภาวะคุกคามหรือข้อจำกัดอันเป็นสภาวะแวดล้อมภายนอกที่มีผลต่อการพัฒนาท้องถิ่น รวมถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของท้องถิ่น อันเป็นสภาวะแวดล้อมภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้เทคนิคการ SWOT analysis เพื่อพิจารณาศักยภาพการพัฒนาของแต่ละยุทธศาสตร์ โดยกำหนดค่าการให้คะแนน
เป็น 4 ระดับในแต่ละด้านดังนี้
ด้าน
มาก
ปานกลาง
น้อย
ไม่มี
จุดแข็ง
3
2
1
0
จุดอ่อน
-3
-2
-1
0
โอกาส
3
2
1
0
อุปสรรค/ข้อจำกัด
-3
-2
-1
0
1. ศักยภาพการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
จุดแข็ง(Streng=s)
1. ด้านการบริหารจัดการ ผู้นำชุมชน ผู้บริหาร สนับสนุนแนวคิดและกำหนดนโยบายการพัฒนาในด้านโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง
2. บุคลากร องค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง มีบุคลากรและอัตรากำลัง จำนวนและคุณวุฒิ อยู่ในระดับที่พร้อมที่จะดำเนินการตามนโยบายการบริหารงาน
3. ประชาชนสนใจ และให้ความสำคัญในการแสดงความคิดเห็น เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานจากการทำประชาคมของแต่ละหมู่บ้านอย่างเต็มที่
จุดอ่อน(Weakness=W)
1. โครงการขนาดใหญ่ต้องใช้งบประมาณสูง องค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง มีงบประมาณไม่เพียงพอ ไม่สามารถดำเนินโครงการได้
2. ความต้องการในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของประชาชนแต่ละหมู่บ้าน มีจำนวนมาก แต่งบประมาณมีไม่เพียงพอในการแก้ไขปัญหา
โอกาส(Opportunity=O)
1. กฎหมาย และนโยบายรัฐบาล ให้การสนับสนุนการดำเนินงานของท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจท้องถิ่น ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ เป็นต้น
2. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น โดยที่หน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ส่งเสริมและสนับสนุนการถ่ายโอนภารกิจให้แก่ อบต.
อุปสรรคหรือข้อจำกัด(Threat=T)
1. โครงการที่ต้องใช้เทคโนโลยีสูง หรือความชำนาญเป็นพิเศษ องค์การบริหารส่วนตำบล
วังแดง ยังไม่มีบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญ



สรุปคะแนนการวิเคราะห์ศักยภาพการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ด้าน
มาก
ปานกลาง
น้อย
ไม่มี
จุดแข็ง
3



จุดอ่อน

-2


โอกาส

2


อุปสรรค/ข้อจำกัด


-1

รวมคะแนนศักยภาพ=3-2+2-1 =2 คะแนน (ศักยภาพโดยรวมปานกลาง)
2. ศักยภาพการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ
จุดแข็ง(Streng=s)
1. ด้านการบริหารจัดการ ผู้นำชุมชน ผู้บริหาร สนับสนุนแนวคิดและกำหนดนโยบายหลักการพัฒนาในด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และพัฒนาแหล่งน้ำ อย่างต่อเนื่อง
2. มีคลอง และลำเหมือง ที่ส่งผ่านน้ำไปยังพื้นที่ทำการเกษตรอย่างทั่วถึง และเพียงพอ
3. มีที่ดินสาธารณะประโยชน์ ในการขุดอ่างเก็บน้ำ
จุดอ่อน(Weakness=W)
1.โครงการขนาดใหญ่ต้องใช้งบประมาณสูง องค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง มีงบประมาณไม่เพียงพอที่จะสามารถดำเนินการได้
2. ไม่มีแหล่งต้นน้ำที่จะส่งน้ำไปยังคลอง และลำเหมืองอย่างเพียงพอ และมีความตื้นเขิน ประสบปัญหาภัยแล้ง และน้ำท่วมซ้ำซาก
3. ไม่มีคลองชลประทานในเขตพื้นที่ และไม่มีการบริหารจัดการเรื่องน้ำที่ดี
โอกาส(Opportunity=O)
1.การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและพัฒนาแหล่งน้ำเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ให้ความสำคัญ และได้กำหนดไว้เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัด
2.การเกิดปัญหาน้ำท่วมและฝนแล้งใหญ่ในทุกภูมิภาค ทำให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความสำคัญการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและพัฒนาแหล่งน้ำ ทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง มีโอกาสได้รับการช่วยเหลือค่อนข้างมาก

อุปสรรคหรือข้อจำกัด(Threat=T)
1. โครงการที่ต้องใช้เทคโนโลยีสูง หรือความชำนาญเป็นพิเศษ องค์การบริหารส่วนตำบล วังแดง ยังไม่มีบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญ


สรุปคะแนนการวิเคราะห์ศักยภาพการพัฒนาด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ
ด้าน
มาก
ปานกลาง
น้อย
ไม่มี
จุดแข็ง
3



จุดอ่อน


-2

โอกาส
3



อุปสรรค/ข้อจำกัด


-2

รวมคะแนนศักยภาพ=3-1+3-1= 2 คะแนน (ศักยภาพโดยรวมปานกลาง)
3. ศักยภาพการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการแก้ไขปัญหาความยากจน
จุดแข็ง(Streng=s)
1. ด้านการบริหารจัดการ ผู้นำชุมชน ผู้บริหาร สนับสนุนแนวคิดและกำหนดนโยบายการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจ อย่างต่อเนื่อง
2. สภาพพื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูกข้าว พืชไร่ และการเลี้ยงสัตว์
จุดอ่อน(Weakness=W)
1. ระบบฐานข้อมูลด้านเศรษฐกิจและความยากจนไม่ถูกต้อง ไม่ชัดเจน ประชาชนให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน ไม่ตรงกับความเป็นจริง
2. ประชาชนขาดการพึ่งพาตนเอง ไม่ขยันหมั่นเพียร ขาดการรวมกลุ่ม รอคอยให้ภาครัฐแก้ไขปัญหา และให้ช่วยเหลือ
โอกาส(Opportunity=O)
1. การแก้ไขปัญหาความยากจนเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับชาติที่รัฐบาลส่งเสริม
2. การแก้ไขปัญหาความยากจนเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดอุตรดิตถ์ โอกาสที่จะได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณมีมาก
อุปสรรคหรือข้อจำกัด(Threat=T)
1. การแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและความยากจน เป็นงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆส่วนที่ต้องประสานงานกัน ถึงจะเกิดผลสัมฤทธิ์
2. ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ค่อนข้างมากทำให้การดำเนินงานไม่คล่องตัว เกิดความล่าช้าในการทำงาน ประชาชนจึงเกิดความเบื่อหน่าย




สรุปคะแนนการวิเคราะห์ศักยภาพการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการแก้ไขปัญหาความยากจน
ด้าน
มาก
ปานกลาง
น้อย
ไม่มี
จุดแข็ง
3



จุดอ่อน

-1


โอกาส
3



อุปสรรค/ข้อจำกัด

-1


รวมคะแนนศักยภาพ=3-1+3-2= 4 คะแนน (มีศักยภาพโดยรวมสูง)
4. ศักยภาพการพัฒนาด้านชุมชนและสังคม
จุดแข็ง(Streng=s)
1. ด้านการบริหารจัดการ ผู้นำชุมชน ผู้บริหาร สนับสนุนแนวคิดและกำหนดนโยบายการพัฒนาในด้านชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่อง
2. ประชาชนให้ความร่วมมือ ช่วยกันสอดส่องดูแลในการแก้ไขปัญหาด้านชุมชนและสังคมเป็นอย่างดี
3. ไม่มีสถานบันเทิง ที่เป็นแหล่งในการก่อให้เกิดปัญหาในสังคม
จุดอ่อน(Weakness=W)
1. ระบบฐานข้อมูลด้านชุมชนและสังคม ไม่ถูกต้อง ไม่ชัดเจน ประชาชนให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน
2. เด็กและผู้สูงอายุถูกทิ้งให้อยู่ลำพัง ขาดความดูแลเอาใจใส่ ขาดความอบอุ่น เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ ทำให้บุคคลในบ้านเป็นผู้ใช้แรงงานต้องอพยพไปทำงานในเมืองใหญ่
โอกาส(Opportunity=O)
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านชุมชนและสังคมเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับชาติที่รัฐบาลส่งเสริม
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านชุมชนและสังคมเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดอุตรดิตถ์ โอกาสที่จะได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณมีมาก
อุปสรรคหรือข้อจำกัด(Threat=T)
1. การแก้ไขปัญหาด้านชุมชนและสังคม เป็นงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆส่วนที่ต้องประสานงานกัน ถึงจะเกิดผลสัมฤทธิ์
2. ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ค่อนข้างมากทำให้การดำเนินงานไม่คล่องตัว เกิดความล่าช้าในการทำงาน ประชาชนจึงเกิดความเบื่อหน่าย


สรุปคะแนนการวิเคราะห์ศักยภาพการพัฒนาด้านชุมชนและสังคม
ด้าน
มาก
ปานกลาง
น้อย
ไม่มี
จุดแข็ง
3



จุดอ่อน

-2


โอกาส
3



อุปสรรค/ข้อจำกัด

-2


รวมคะแนนศักยภาพ=3-2+3-2= 2 คะแนน (มีศักยภาพโดยรวมปานกลาง)
5.ศักยภาพการพัฒนาด้านสาธารณสุข
จุดแข็ง(Streng=s)
1. ด้านการบริหารจัดการ ผู้นำ ผู้บริหาร สนับสนุนแนวคิดและกำหนดนโยบายการพัฒนาในด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
3. มีงบประมาณเพียงพอในการบริหารจัดการด้านการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมตามอำนาจหน้าที่
จุดอ่อน(Weakness=W)
1.ระบบฐานข้อมูลด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ยังไม่ถูกต้อง ไม่ชัดเจน ประชาชนให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน
2.ประชาชนขาดจิตสำนึกในการรักษาความสะอาด การไม่ทิ้งขยะในที่ที่จัดให้ การขาดความรู้ความเข้าใจการดูแลรักษาสุขภาพ
3. ยังไม่มีบุคลากรที่มีความชำนาญเฉพาะด้านมารับผิดชอบงานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
โอกาส(Opportunity=O)
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับชาติที่รัฐบาลส่งเสริม
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการสาธารณสุข เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดอุตรดิตถ์ โอกาสที่จะได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณมีมาก
อุปสรรคหรือข้อจำกัด(Threat=T)
1.การแก้ไขปัญหาด้านด้านสังคมและการสาธารณสุข เป็นงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆ ส่วนที่ต้องประสานงานกัน ถึงจะเกิดผลสัมฤทธิ์
2.ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ค่อนข้างมากทำให้การดำเนินงานไม่คล่องตัว เกิดความล่าช้าในการทำงาน ประชาชนจึงเกิดความเบื่อหน่าย
สรุปคะแนนการวิเคราะห์ศักยภาพการพัฒนาด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
ด้าน
มาก
ปานกลาง
น้อย
ไม่มี
จุดแข็ง
3



จุดอ่อน

-2


โอกาส
3



อุปสรรค/ข้อจำกัด

-2


รวมคะแนนศักยภาพ=3-2+3-2= 2 คะแนน (มีศักยภาพโดยรวมปานกลาง)
สรุปการวิเคราะห์ศักยภาพการแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง
โดยใช้เทคนิค SWOT
1. ศักยภาพการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีศักยภาพโดยรวมในระดับปานกลาง
2. ศักยภาพการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ มีศักยภาพโดยรวมในระดับปานกลาง
3. ศักยภาพการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการแก้ไขปัญหาความยากจน มีศักยภาพโดยรวมในระดับสูง
4. ศักยภาพการพัฒนาด้านชุมชนและสังคม มีศักยภาพโดยรวมในระดับปานกลาง
5.ศักยภาพการพัฒนาด้านสาธารณสุข มีศักยภาพโดยรวมในระดับปานกลาง

จากที่ได้วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส อุปสรรค (SWOT) ทางกลุ่มจึงได้นำข้อมูลดังกล่าวมากำหนดเป็นวิสัยทัศน์การพัฒนาดังนี้
วิสัยทัศน์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง
วิสัยทัศน์ (VISION) หมายถึง สภาพการณ์ในอุดมคติซึ่งเป็นจุดหมายของท้องถิ่นที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า เพราะเราเชื่อว่าหากสภาพการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลให้เกิดคุณค่าหรือค่านิยมบางประการที่เรายึดถือ เช่น คุณภาพชีวิตของประชาชน การเติบโตทางเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้ที่เท่าเทียมกัน เป็นต้น กล่าวอีกนัยหนึ่งวิสัยทัศน์เป็นผลรวมของการสรุปบทเรียนจากอดีตว่าองค์กรมีข้อเด่นข้อด้อยอะไรบ้าง พิจารณาปัจจุบันว่าองค์กรเป็นแบบใดคือมีบทบาทหน้าที่ในระดับใด และมุ่งหวังถึงอนาคตข้างหน้า “สรุปการกำหนดวิสัยทัศน์คือ การตอบคำถามว่า ท้องถิ่นต้องการอะไรในอนาคต” จากสภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานสำคัญของท้องถิ่นและสภาพปัญหาของท้องถิ่นตลอดจนผลการวิเคราะห์ศักยภาพและการประเมินสถานการณ์พัฒนาท้องถิ่นในปัจจุบันและโอกาสพัฒนาในอนาคตของท้องถิ่น โดยการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคต่างๆ แล้ว จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังแดงไว้ดังนี้
1. วิสัยทัศน์(Vision)
“คุณภาพชีวิตดี มีชุมชนน่าอยู่ คู่การศึกษาก้าวไกล ใส่ใจสิ่งแวดล้อม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง”
2. พันธกิจ(Mission)
จากวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจทิศทางในการพัฒนาได้ 3 ประเด็น ดังนี้
1) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
2) การสร้างความมั่นคงของเศรษฐกิจชุมชน
3) การเสริมสร้างศักยภาพของชุมชน ในการอยู่ร่วมกันกับทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างสันติและเกื้อกูล

ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลวังแดงเป็นแนวทางของการพัฒนาของอบต.โดยแสดงถึงวิสัยทัศน์ พันธกิจ และจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาในอนาคตซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ

ดังนั้น การพัฒนาท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลวังแดงจึงจำเป็นจะต้องมีการวางแผนเพื่อสนับสนุนและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาลนโยบายของจังหวัดอุตรดิตถ์ รวมทั้งตามอำนาจหน้าที่ของอบต.ตามพระราชบัญญัติอบต. พ.ศ.2496 พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ พ.ศ. 2542 และ กฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงได้กำหนดนโยบายเพื่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลวังแดงไว้ดังนี้
3. กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ของการพัฒนา
3.1. การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ท้องถิ่นมีระบบสาธารณูปโภคและระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ได้มาตรฐานเอื้ออำนวยประโยชน์แก่ประชาชนในเขตอบต.รวมทั้งเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาทางด้านการค้าเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและธุรกิจการบริการ
3.2 การพัฒนาด้านการศึกษาและสังคม
วัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างให้ประชาชนในเขตอบต.ได้รับการศึกษาและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
3.3 การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์เพื่อให้ท้องถิ่นเป็นเมืองที่มีการจัดการสิ่งแวดล้อมดี และเป็นเมืองน่าอยู่
3.4 การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและพัฒนารายได้ให้แก่ประชาชน

3.5 การพัฒนาด้านการเมืองการปกครองและการบริหารจัดการที่ดี
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ท้องถิ่นมีระบบการเมืองการปกครอง และการบริหารจัดการที่ดีและส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารและสามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานได้

จะเห็นได้ว่าองค์การบริหารส่วนตำบลวังแดงได้มีการพัฒนาบริการจัดการในด้านต่างๆ
อย่างเป็นระบบและนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มีทั้งทางด้านเศรษฐกิจ , สังคม , การเมือง และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่วังแดง ให้มีความอยู่ดีมีสุข ทั้งทางด้านสุขภาพกายสุขภาพใจ ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนเป็นที่น่าอยู่สำหรับแขกที่มาเที่ยวและมาสัมผัสที่บ้านเราที่สุดดังคำกล่าวของเมืองวังแดงที่มีหลากหลายวัฒนธรรม เชื้อชาติ ต่างภาษา แต่ก็สามารถที่จะผสมผสานกลมกลืนอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุขไม่มีปัญหา
4. กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์
องค์การบริหารส่วนตำบลวังแดงได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ที่คาดว่าจะทำแล้วแก้ปัญหาการว่างงานของชุมชนไว้ 5 ประเด็น โดยเอาจุดแข็งมาเป็นตัวนำ ดังนี้
1) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาอาชีพและรายได้ของครอบครัวและชุมชน
2) ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมอาชีพและรายได้รวมทั้งความมั่นคงและยั่งยืน
ทางเศรษฐกิจของท้องถิ่น
3) ยุทธศาสตร์ด้านการสงเคราะห์และดูแลผู้ยากไร้ พิการหรือด้อยโอกาสใน
ท้องถิ่น
4) ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมชุมชนให้มีศักยภาพในการพัฒนาและแก้ไข
ปัญหาด้วยชุมชน
จากที่ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหาการว่างงานทั้ง 4 ยุทธศาสตร์
ข้างต้นจึงได้นำมาคัดเลือกประเด็นยุทธศาสตร์โดยใช้เครื่องมือในการคัดเลือกยุทธศาสตร์ใช้โมเดล BCG เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนตามตารางข้างล่างนี้
การวิเคราะห์ประเด็นยุทธศาสตร์ โดยเปรียบเทียบตาราง Model BCG
เพื่อเป็นการวิเคราะห์ความต้องการของชุมชน นำมาซึ่งการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นทิศทางในการดำเนินงานได้ดังนี้






ความสอดคล้องกับความต้องการของคนในท้องถิ่น

สูง
ต่ำ
สูง
ดาวรุ่ง STARS
1. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาอาชีพและ
รายได้ของครอบครัวและชุมชน
2. ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมอาชีพและ
รายได้รวมทั้งความมั่นคงและยั่งยืนทาง
เศรษฐกิจของท้องถิ่น
ดาวลูกไก่ Question Marks
3. ยุทธศาสตร์ด้านการสงเคราะห์และดูแลผู้ยากไร้ พิการหรือด้อยโอกาสในท้องถิ่น

ต่ำ
ดาวค้างฟ้า Cash cows
4. ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมชุมชนให้มีศักยภาพในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้วยชุมชน

ดาวตก Dogs
-

การกำหนดกลยุทธ์ระดับต่างๆ (Hierarchy of Strategy) ของอบต.ให้แบ่งออกเป็น 3 กลยุทธ์ ด้วยกันคือ
1) กลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Strategy) ในที่นี้หมายถึง หน่วยงานองค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง ทุกส่วนกอง/ฝ่าย ในอบต.ทุกส่วนราชการทั้งหมด เป็นกลยุทธ์ในการกำหนดทิศทางที่นิยมใช้มากที่สุดใน อปท. เพราะเป็นธรรมชาติการเติบโตจากภายใน การเติบโตจากภายนอก
1.1 กลยุทธ์การขยาย/เติบโต (Growth Strategies)
1.2 กลยุทธ์การคงที่/คงไว้ (Stability Strategies)
1.3 กลยุทธ์การถดถอย (Retrenchment Strategies)
2. กลยุทธ์การแข่งขันระดับหน่วยงาน (Business Division Level Strategy) เป็นกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นพัฒนาความสามารถในการแข่งขันบริการให้กับลูกค้า ก็คือประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังแดงที่รับบริการและมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นอย่างเป็นธรรมและทั่วถึงรวดเร็วมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริการของอบต.โดยเป็นในรูปของแผนงาน/โครงการต่างๆที่เป็นนโยบายของผู้บริหารสนองตามความต้องการของประชาชน
3) กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ (Functional Strategies) เป็นกลยุทธ์ที่ดึงเอาจุดเด่นของแต่ละกอง/ฝ่ายที่เป็นจุดเด่นที่ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์แล้วนำแผนงาน/โครงการนำมาเป็นแผนปฏิบัติการคือมีทั้งงบประมาณ งานที่ต้องทำ ผู้ร่วมงาน โดยจะต้องคำนึงถึงความถูกต้องโดยไม่ทำตามผู้บริหารแต่ให้ยึดความถูกต้องตามกฎระเบียบของทางราชการมาผสมกันกับความยึดหยุ่นของฝ่ายการเมือง อันเป็นจุดแข็งของระบบราชการโดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบลวังแดงได้ดำเนินการอยู่จริงๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะทำให้ความยั่งยืนของจุดแข็งความสามารถในการแข่งขันหลักของฝ่ายงาน การบริหารจัดการความได้เปรียบในการแข่งขันเพื่อความยั่งยืนเพราะ อปท.แต่ละที่เหมือนกันทั้งงบประมาณที่ได้ งานที่ต้องทำ พนักงานต่างกันตรงทีมผู้บริหารเท่านั้น
กลยุทธ์ทางการตลาด (Marketing Strategies) เป็นกลยุทธ์เกี่ยวกับการขาย (Selling) : อปท. จะขายบริการสาธารณะ บางอย่างตั้งราคาได้ บางอย่างไม่ได้เพราะถูกกำหนดมาแล้วจากส่วนกลาง การตั้งราคา (Pricing) ช่องทางการจัดจำหน่าย (Distributing a product) : การให้บริการหลายช่องทาง เช่น บริการเคลื่อนที่ เวปไซต์ โทรศัพท์ จดหมาย
ฝ่ายการตลาดของ อปท. จึงหมายถึงพนักงานทุกคนในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวหน้าการตลาด คือ นายกเทศมนตรี และปลัดอบต.และแยกเป็นกลยุทธ์หลัก 2 อย่าง คือ
1) กลยุทธ์การพัฒนาตลาด (Market development strategy) เพิ่มส่วนแบ่งตลาด
ในตลาดเดิม โดยการเติมเต็มให้ตลาดอิ่มตัวและเจาะตลาด พัฒนาสินค้าใหม่สำหรับตลาดใหม่ (Develop new products for new markets) อันนี้รัฐจะไม่มีเพราะไม่มีตลาดใหม่ มีพื้นที่เท่าเดิม

2) กลยุทธ์ทางการเงิน (Financial Strategy) การวิเคราะห์ทางการเงิน (Financial Analysis) และวิเคราะห์การลงทุน (Investment analysis)
3) กลยุทธ์การจัดซื้อ
4) กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เช่น แรงงานมีฝีมือและแรงงานไม่มีฝีมือ ลักษณะงานซ้ำๆ เปลี่ยนงานเร็ว
5) กลยุทธ์ด้านสารสนเทศ เทคโนโลยีจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
(Competitive advantage) ของหน่วยงาน เป็นผู้นำหรือผู้ตามทางด้านเทคโนโลยี Technological leader, Technological follower สิ่งที่ควรเอามาใช้ คือ
จัดเก็บข้อมูล
ฐานข้อมูล (Data base)
ปฏิบัติการ (Operation)
สื่อสารภายในองค์กร intranet ภายนอกองค์กร internet
เมื่อกำหนดกลยุทธ์ทั้ง 3 กลยุทธ์แล้วจึงนำแต่ละกลยุทธ์มาเป็นแผนปฏิบัติการตามแต่ละกลยุทธ์ทั้ง 3 ระดับโดยแยกเป็นยุทธศาสตร์ต่างๆ ที่จะได้นำมาแยกเป็นข้อๆ โดยใช้ระบบการจัดการกลยุทธ์ด้วยแนวคิดแบบ “Balance Score Card” ซึ่งเป็นเครื่องมือทางด้านการจัดการที่ช่วยในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติโดยอาศัยการวัดหรือประเมิน (Measurement) ที่จะช่วยทำให้องค์กรเกิดความสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และมุ่งเน้นในสิ่งที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร(Alignment and focused) ประกอบด้วย
- ด้านการเงิน (Financial)
- ด้านลูกค้าประชาชนและผู้ใช้บริการ (Costomer)
- ภายในองค์กร (Internal Business Perspective)
- ความคิดสร้างสรรค์การเรียนรู้ (Innovation and Learning)
Balanced Scorecard
ภายใต้แต่ละมุมมองประกอบด้วย 4 ช่องทาง ได้แก่
1) วัตถุประสงค์ (Objective)
2) ตัวชี้วัด (KPI)
3) เป้าหมาย ( Target)
4) แผนงานโครงการหรือกิจกรรม (Initiative)
จากภายใต้แต่ละมุมมองที่ได้กล่าวมาทั้ง 4 ช่องทาง.. ก็นำมาสู่การกำหนดกลยุทธ์ขึ้น
2 ประเภท คือ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่เลือก
1. . ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาอาชีพและรายได้ของครอบครัวและชุมชน
1.1 โครงการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์( ผลิตปุ๋ยอินทรีย์, ปุ๋ยชีวภาพ,และปุ๋ยพืชสด) เพื่อลดต้นทุนการผลิต
1.2 โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้อย่างพอเพียง
1.3 โครงการพัฒนาองค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียงแบบครบวงจร

2. ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมอาชีพและรายได้รวมทั้งความมั่นคงและยั่งยืนทาง
เศรษฐกิจของท้องถิ่น
2.1 โครงการประสิทธิภาพการทำนาให้แก่กลุ่มเกษตรกร
2.2 โครงการฝึกอบรมและส่งเสริมอาชีพปลูกแตงแคนตาลูป
2.3 โครงการฝึกอบรมและส่งเสริมอาชีพทำแจกันไม้มะม่วง







ตัวอย่างโครงการ

โครงการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์( ผลิตปุ๋ยอินทรีย์, ปุ๋ยชีวภาพ,และปุ๋ยพืชสด)
ตำบลวังแดง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์
หลักการและเหตุผล ในสภาพปัจจุบันการทำการเกษตร ต้องพึ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทั้งปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และพืชพันธุ์ใหม่ทั้งหมดนี้ต้องใช้เงินซื้อหามาทั้งสิ้น นอกจากนี้เกษตรกรยังต้องทุ่มเทเวลาในการจัดหาเทคโนโลยีและละเลยการผลิตเพื่อการบริโภคซึ่งจำเป็นต่อชีวิต กลับฝากความหวังไว้กับการผลิตเพื่อการขาย ขายได้แล้วจึงนำเงินมาซื้อที่ดินอีกต่อหนึ่งแต่ผลที่ได้นั้นไม่เป็นอย่างที่คิด เพราะมูลค่าของผลผลิตที่ขายได้ไม่คุ้มกับที่ลงทุนไป จากสภาพปัญหาดังกล่าว กลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยพืชสด ตำบลวังแดง พิจารณาแล้วเห็นว่า การส่งเสริมให้เกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์ จะเป็นช่องทางหนึ่งที่จะลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร ผลผลิตทางการเกษตร ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและผู้ผลิตและเป็นการเกษตรที่รักษาสมดุลของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และช่วยปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงนโยบายด้านเศรษฐกิจต่อสังคมต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 ที่กำหนดไว้ในนโยบายเศรษฐกิจรัฐบาล และถือปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงวัตถุประสงค์ของโครงการ1.เพื่อลดต้นทุนการผลิตที่จะนำไปสู่การลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ของเกษตรกร2.เพื่อขจัดปัญหาความยากจนตามนโยบายของรัฐบาล3.เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมเชิงนิเวศ ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีขึ้น4.เพื่อให้เกษตรกรเข้าใจ เห็นความสำคัญของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และใช้เศษวัสดุเหลือใช้ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยพืชสด 5.เพื่อสร้างเสริมการเรียนรู้ของชุมชน
เป้าหมายของโครงการ1.เกษตรกรเห็นความสำคัญของการปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ และนำไปใช้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ2.คุณภาพชีวิตทั้งด้านสุขภาพอนามัย และด้านเศรษฐกิจของเกษตรกรดีขึ้น3.เกษตรกรตำบลวังแดงจำนวน 300 คน ที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อเพิ่มมูลค่าโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ชีวภาพ รายละ 2 ไร่ รวม 600 ไร่
วิธีดำเนินการ1.เสนอโครงการผลิตปุ๋ยชีวภาพ2.ประชุมคัดเลือกคณะกรรมการดำเนินโครงการผลิตปุ๋ยชีวภาพในระดับตำบล โดยมีตัวแทนแต่ละหมู่บ้าน3.คัดเลือกกลุ่มเกษตรกร ที่ลงทะเบียนคนจนเข้ามาดำเนินการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยพืชสด4.สำรวจความต้องการของเกษตรกร และประเมินแนวโน้มความเป็นไปได้5.จัดซื้อ วัสดุ อุปกรณ์การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยพืชสด เพื่อผลิตและแจกจ่ายให้เกษตรกร6.สร้างเครือข่ายและแปลงสาธิต เพื่อทอลองนำร่องการเกษตรอินทรีย์7.ให้เกษตรกรเป้าหมายไปใช้เมื่อจำหน่ายผลผลิตแล้วนำเงินมาคืนในราคาต้นทุนกิโลกรัมละ 3 บาทระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2552 ถึง วันที่ 30 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2552
ประมาณที่ใช้งบประมาณที่จังหวัดจัดสรรให้ตามแผนงานยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข จำนวน 441,000 บาท(สี่แสนสี่หมื่นหนึ่งพันบาทถ้วน )
สถานที่ดำเนินการพื้นที่หมู่ที่ 4 ตำบลวังแดง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์
ประโยชน์ที่ได้รับ 1.พื้นที่เกษตร 600 ไร่ และเกษตรกร 300 ราย ได้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยพืชสด2.การบริหารกลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ ที่มีความถูกต้องกับการผลิตและการใช้งาน และพัฒนาสู่การจำหน่าย เพื่อเพิ่มรายได้3.เกษตรกรเห็นความจำเป็นและความสำคัญ การเกษตรอินทรีย์ที่มีผลต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของเกษตรกรดีขึ้น4. เกษตรกรสนใจและแลกเปลี่ยนแนวทางการเกษตร จากการใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีกำจัดศัตรูพืช มาใช้แนวทางเกษตรอินทรีย์
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการทำนาให้แก่กลุ่มเกษตรกร
(การทำนาแบบไม่เผาฟาง)

ลักษณะโครงการ โครงการต่อเนื่อง
ข้าว เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย เป็นอาหารหลักและสินค้าเกษตรส่งออกอันดับหนึ่งของประเทศ การเพาะปลูกข้าวเป็นวัฒนธรรมประเพณีอันเก่าแก่ของไทยที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุ แต่ปัญหาหนึ่งที่เกษตรกรทำนาประสบ นอกจากปัญหาปุ๋ยและยาฆ่าแมลงที่มีราคาแพงแล้ว ก็คือ ปัญหาพันธุ์ข้าว เนื่องจากพันธุ์ข้าวที่เกษตรกรใช้ในการเพาะปลูกมักจะมีการปลอมปนของเมล็ดพันธุ์ ขณะเดียวกันปัญหาด้านโรคพืชและแมลงศัตรูข้าวก็ได้เข้ามามีผลต่อการเพิ่มผลผลิตของข้าว อันเป็นผลมาจากชาวนาในปัจจุบันมีการเร่งรัดจำนวนครั้งของการปลูกข้าวในรอบปีจากปีละ 2 ครั้ง เป็นปีละ 3 ครั้ง หรือ 2 ปี 5 ครั้ง จึงทำให้ไม่มีเวลาพัก สำหรับการกำจัดข้าวเรื้อและวัชพืช ปัญหาข้าวแดง หญ้าข้าวนก หญ้าไม้กวาดเพิ่มมากขึ้นในนา อันเป็นผลจากการเตรียมดินไม่ดีจนอยู่ในขั้นวิกฤติ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ มีความจำเป็นที่ต้องมีการพัฒนาและแก้ปัญหาในทุกด้านควบคู่กันไป ตั้งแต่การปรับปรุงโครงสร้างดิน การเตรียมดิน การเตรียมเมล็ดพันธุ์ การเฝ้าระวังแปลงนา จนถึงการเก็บเกี่ยว ซึ่งที่ผ่านมา องค์การบริหารส่วนตำบลวังแดงได้ดำเนินการจัดอบรมการเกษตรก้าวไกลและศึกษาดูงาน โครงการส่งเสริมพันธุ์ข้าวให้แก่กลุ่มเกษตรกร การปลูกข้าวในแปลงนาสาธิตทดลอง และแปลงควบคุม เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวสำหรับใช้เป็นคลังเมล็ดพันธุ์ของชุมชน และการลงแขกเกี่ยวข้าวฯ สำรับโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการทำนาให้แก่กลุ่มเกษตรกรตำบลวังแดง (การทำนาแบบไม่เผาฟาง) ถือเป็นอีกโครงการหนึ่งที่ได้มีการนำเอาภูมิปัญญาของชาวบ้านชุมชน มาพัฒนาให้เกิดองค์ความรู้ในด้านเทคโนโลยี ที่ผ่านมาได้มีการผลิตเครื่องคัดพันธุ์ข้าว เครื่องตัด บด สมุนไพร ฯลฯ ในขณะเดียวกันได้มีการคิดค้นผลิตเครื่องมือสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการทำนาจากภูมิปัญญาชาวบ้านเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องสีข้าวโบราณ เครื่องกระจายฟาง เครื่องผสมปุ๋ยแบบนอน และถังหมักก๊าซมูลสัตว์ เป็นต้น เพื่อใช้ในกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน เป็นการตอบสนองความต้องการของเกษตรกรทำนา ในการสรรหา คัดสรร สายพันธุ์ข้าว และเพิ่มผลผลิตข้าวให้ชุมชน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเพิ่มความรู้ในการคัดพันธุ์ข้าวโดยการใช้เทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้าน
2. เพื่อสนับสนุนการผลิตเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาท้องถิ่น

เป้าหมาย
การผลิตเครื่องมือทางการเกษตรจากเทคโนโลยีภูมิปัญญาชาวบ้าน

กิจกรรมโครงการ
1. การคิดค้นผลิตเครื่องมือทางการเกษตรจากเทคโนโลยีภูมิปัญญาชาวบ้าน
2. ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือทางการเกษตรให้เกษตรกรทำนา

วิธีการดำเนินการ
1. เสนอโครงการต่อผู้บริหาร2. ประชุมคัดเลือกคณะกรรมการดำเนินโครงการ โดยมีตัวแทนแต่ละหมู่บ้าน
3. การดำเนินการเตรียมวัสดุ/อุปกรณ์ในการผลิตเครื่องสีข้าวโบราณ ฯลฯ
4.การผลิตและประกอบเครื่องสีข้าวโบราณ
5.ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือทางการเกษตรให้เกษตรกรทำนา
6.สร้างเครือข่ายและแปลงสาธิต เพื่อทอลองนำร่องการเกษตรอินทรีย์
7.ให้เกษตรกรเป้าหมายนำไปใช้ และมีการรับซื้อเพื่อจำหน่ายให้เกษตรในเครือข่ายต่อไป
งบประมาณ
องค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง แผนงานการเกษตร จำนวน 35,700.- บาท เพื่อจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายดังนี้
1. ค่าวัสดุ/อุปกรณ์
1.1 ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ เครื่องโรยปุ๋ย เป็นเงิน 35,700.- บาท
ระยะเวลาดำเนินการ
ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2552

สถานที่ดำเนินการ
หมู่ที่ 3 ตำบลวังแดง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์

หน่วยงานที่รับผิดชอบ
องค์การบริหารส่วนตำบลวังแดงและสำนักงานเกษตรอำเภอตรอน


ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. มีการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรจากภูมิปัญญาชาวบ้านเพิ่มขึ้น
2. มีการผสมผสานการทำนา ในรูปแบบครบวงจร
3. ลดต้นทุนการทำนา ผลผลิตและรายได้ เพิ่มขึ้น
ผู้รับผิดชอบโครงการ
องค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์

โครงการฝึกอบรมและส่งเสริมอาชีพปลูกแตงแคนตาลูป

หลักการและเหตุผล
เนื่องจากประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังแดงส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ และรับจ้าง รับจ้าง เมื่อเสร็จสิ้นฤดูเก็บเกี่ยวชาวบ้านจะว่างงานอยู่ประมาณ 4 -5 เดือนที่ไม่มีงานทำ ทำให้ขาดรายได้และส่งผลให้เกิดการว่างงานขึ้น ด้วยเหตุนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลวังแดงจึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมและส่งเสริมอาชีพปลูกแตงแคนตาลูปขึ้นเพื่อจำหน่ายในท้องถิ่นขึ้น

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ประชาชนได้รับการฝึกอาชีพและเสริมรายได้
2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และทักษะในด้านการผลิต และจำหน่ายแตงแคนตาลูป
3. เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว มีความเข้มแข็งและมั่นคง

เป้าหมาย
จัดฝึกอบรมประชาชนที่อยู่ในตำบลวังแดง โดยคัดเลือกมาหมู่บ้านละ 10 คน
วิธีดำเนินการ
4.1 จัดทำโครงการ และเสนอขออนุมัติต่อผู้บริหาร
4.2 คัดเลือกตัวแทนชุมชนเพื่อเข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 120 คน
4.3 เบิกจ่ายเงินงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการ
4.4 จัดฝึกอบรมภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติให้กับกลุ่มเป้าหมาย
4.4 ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ

ระยะเวลาดำเนินการ
ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฏาคม ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2552

งบประมาณ
ในการดำเนินการตามโครงการนี้ให้เบิกค่าใช้จ่ายจากงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง จำนวน 50,000 บาท

ผู้รับผิดชอบโครงการ
องค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ประชาชนมีงานทำตลอดปี
2. มีผลผลิตออกมาจำหน่ายได้ตลอดนอกฤดูเก็บเกี่ยวข้าว และมีคุณภาพ
3. ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น และมีความมั่นคงในชีวิตยิ่งขึ้น


ผู้เสนอโครงการ
(นายวีระ ฉิมเลี้ยง)
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง

ผู้อนุมัติโครงการ
(นายสมนึก จำปา)
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง












4.4 คาดคะเนผลว่าจะเกิดขึ้นโดยมีตัวชี้วัดความสำเร็จที่ชัดเจน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่เลือก
1. . ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาอาชีพและรายได้ของครอบครัวและชุมชน
เป้าประสงค์
1. ประชาชนยากจนได้รับโอกาสในการเข้าสู่ทุนที่ทำกินและได้รับการพัฒนาความรู้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ
2. เสริมสร้างกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง
ตัวชี้วัด
1. คนยากจนมีโอกาสในการประกอบอาชีพที่ทำรายได้เพิ่มขึ้น หนี้สินลดลง มีที่ดินเป็นของตนเอง
2. คนยากจนได้รับการบริการด้านสังคมเพียงพอต่อการดำรงชีพขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง
2. ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมอาชีพและรายได้รวมทั้งความมั่นคงและยั่งยืน
ทางเศรษฐกิจของท้องถิ่น
เป้าประสงค์
1. เชื่อมโยงประโยชน์จากปัจจัยแวดล้อมโดยชุมชนจะได้รับการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน
2. ได้รับโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อแก้ไขปัญหาชุมชนเอง
ตัวชี้วัด
1. ชุมชนมีโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเสริมสร้างโอกาสในการพัฒนาตนเอง
2. ชุมชนมีแหล่งเงินทุนมีระบบการบริหารแหล่งเงินทุนของชุมชนอย่างยั่งยืน








4.5 ระยะเวลาและแผนปฏิบัติการ
แผนปฏิบัติการ(Action Plan)
โครงการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์( ผลิตปุ๋ยอินทรีย์, ปุ๋ยชีวภาพ,และปุ๋ยพืชสด)
กิจกรรม

ระยะเวลา (เดือน)
ผู้รับผิดชอบ
ผู้เกี่ยวข้อง
หมาย
เหตุ
ส.ค.
ก.ย.
ต.ค.
พ.ย.
ธ.ค.
1.จัดทำโครงการ และเสนอขออนุมัติต่อผู้บริหาร





อบต.วังแดง


2.ประชุมคัดเลือกคณะกรรมการดำเนินโครงการผลิตปุ๋ยชีวภาพในระดับตำบล โดยมีตัวแทนแต่ละหมู่บ้าน



อบต.วังแดง
สนง.เกษตร อ.ตรอน

3.คัดเลือกกลุ่มเกษตรกร ที่ลงทะเบียนคนจนเข้ามาดำเนินการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยพืชสด





อบต.วังแดง
สนง.เกษตร อ.ตรอน

4.สำรวจความต้องการของเกษตรกร และประเมินแนวโน้มความเป็นไปได้




อบต.วังแดง


5.จัดซื้อ วัสดุ อุปกรณ์การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยพืชสด เพื่อผลิตและแจกจ่ายให้เกษตรกร




อบต.วังแดง
สนง.เกษตร อ.ตรอน

6.สร้างเครือข่ายและแปลงสาธิต เพื่อทอลองนำร่องการเกษตรอินทรีย์




อบต.วังแดง
สนง.เกษตร อ.ตรอน

7.ให้เกษตรกรเป้าหมายไปใช้เมื่อจำหน่ายผลผลิตแล้วนำเงินมาคืนในราคาต้นทุนกิโลกรัมละ 3 บาท





อบต.วังแดง



แผนปฏิบัติการ(Action Plan)
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการทำนาให้แก่กลุ่มเกษตรกร
(การทำนาแบบไม่เผาฟาง)

กิจกรรม

ระยะเวลา (เดือน)
ผู้รับผิดชอบ
ผู้เกี่ยวข้อง
หมาย
เหตุ
ส.ค.
ก.ย.
ต.ค.
พ.ย.
ธ.ค.
1.จัดทำโครงการ และเสนอขออนุมัติต่อผู้บริหาร




อบต.วังแดง


2. ประชุมคัดเลือกคณะกรรมการดำเนินโครงการ โดยมีตัวแทนแต่ละหมู่บ้าน




อบต.วังแดง
สนง.เกษตร อ.ตรอน

3.การดำเนินการเตรียมวัสดุ/อุปกรณ์ในการผลิตเครื่องสีข้าวโบราณ ฯลฯ




อบต.วังแดง
สนง.เกษตร อ.ตรอน

4.การผลิตและประกอบเครื่องสีข้าวโบราณ




อบต.วังแดง


5. ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือทางการเกษตรให้เกษตรกรทำนา




อบต.วังแดง
สนง.เกษตร อ.ตรอน

6.สร้างเครือข่ายและแปลงสาธิต เพื่อทดลองนำร่องการเกษตรอินทรีย์



อบต.วังแดง
สนง.เกษตร อ.ตรอน

7. ให้เกษตรกรเป้าหมายนำไปใช้ และมีการรับซื้อเพื่อจำหน่ายให้เกษตรในเครือข่ายต่อไป






อบต.วังแดง




แผนปฏิบัติการ(Action Plan)
โครงการฝึกอบรมและส่งเสริมอาชีพปลูกแตงแคนตาลูป

กิจกรรม
ระยะเวลา (เดือน)
ผู้รับผิดชอบ

ผู้เกี่ยวข้อง
หมายเหตุ
ก.ค.
52
ส.ค.
52
1 จัดทำโครงการ และเสนอขออนุมัติต่อผู้บริหาร

อบต.วังแดง


2 คัดเลือกตัวแทนชุมชนเพื่อเข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 120 คน





3 เบิกจ่ายเงินงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการ




4 จัดฝึกอบรมภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติให้กับกลุ่มเป้าหมาย




5 ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ





วิธีการบริหารจัดการโครงการ
จากที่กลุ่มได้นำเสนอโครงการทั้ง 2 โครงการ ได้นำหลักการบริหารโครงการต่างๆ ตามทฤษฎีกระบวนการจัดการ(Management Process Theory) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ให้ความสำคัญต่อตัวผู้บริหารท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน ซึ่งผู้บริหารที่ดีจะทำให้การบริหารองค์กรนั้น มีประสิทธิภาพโดยยึดหลักกระบวนการจัดการแบบ POSDCORB ประกอบด้วย
1. การวางแผน (Planning)
2. การจัดองค์การ (Organizing)
3. การบริหารงานบุคคล (Staffing)
4. การดำเนินการ (Directing)
5. การประสานงาน (Coordinating)
6. การรายงาน (Reporting)
7. การงบประมาณ (Butgeting)
การบริหารโครงการ (Project Management) เป็นการวางแผนและการบริหารทรัพยากรใดๆ ทั้งตัวมนุษย์และเรื่องของงานโดยคาดคะเนทิศทางของโครงการตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นจนถึงขั้นเสร็จงานรวมถึงการกำหนดช่วงเวลาการปฏิบัติงานที่จะทำให้งานออกมามีประสิทธิภาพและสามารถที่จะประมาณราคาของโครงการได้ การบริหารโครงการมีหัวใจสำคัญคือการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างเวลา ราคา และคุณภาพในทรัพยากรที่กำหนดเพื่อให้ได้เป้าหมายตามที่ต้องการโดยมีขั้นตอนและกระบวนการบริหารโครงการตามทฤษฎีของ รอนดิเนลลี (Dennis A Rondineli) 12 ขั้นตอน ดังนี้
1. กำหนดโครงการ
2. การเตรียมโครงการ
3. การวางแผนโครงการ
4. การประเมินผลโครงการ
5. การเลือกและอนุมัติโครงการ
6. การจัดกิจกรรมโครงการ
7. การดำเนินการโครงการ
8. การติดตามและควบคุมโรงการ
9. การสิ้นสุดโครงการ
10. การโอนงานโครงการมาสู่งานปกติ
11. การประเมินผลโครงการ
12. การติดตามผลการปฏิบัติงาน

การติดตามและประเมินผล
กระบวนการการประเมินผลนโยบาย
1. การกำหนดคณะผู้ประเมิน : คนในหรือคนนอก คนในดีเพราะหนึ่งประหยัดงบประมาณ สองช่วยพัฒนา HR ในองค์กร สามรู้พื้นที่ รู้นโยบาย รู้ระบบบริหารจัดการ แต่มีข้อจำกัดที่สำคัญ คือ อคติ อาจไม่มีความเที่ยงตรง คนนอกดีตรงที่ตรงไปตรงมา ไม่มีส่วนได้เสีย สองเป็นมืออาชีพ เป็นที่ยอมรับของสังคมทำให้ประเมินได้อย่างมีประสิทธิภาพ เที่ยงตรง ข้อเสียคือต้องเสียงบประมาณในการจ้างจำนวนมาก สองถ้าจ้างแต่สถาบันภายนอกอย่างเดียว ก็เป็นการปิดโอกาสการพัฒนาศักยภาพ HR สามคนนอกไม่คุ้นเคยกับนโยบาย กับระบบการบริหาร กับพื้นที่ อาจทำให้มีผลต่อการประเมินได้ ให้เราพิจารณาดูว่าอย่างไรจึงจะเหมาะสม ถ้าเป็นโครงการใหญ่ ๆ ก็จะต้องจ้างหน่วยงานภายนอก แต่หากเป็นโครงการเล็ก ๆ ก็น่าจะเปิดโอกาสให้คนใน
2. การทำความเข้าใจกับนโยบายที่จะประเมินโดยละเอียด หมายความว่าต้องกลับไปหา เอกสาร นโยบาย แผน โครงการของนโยบายที่เราจะประเมิน เช่น ถ้าจะประเมินนโยบายเมืองน่าอยู่ของนครขอนแก่น ก็ต้องไปเอาเอกสารทั้งหมดมาดู จะทำให้เรามองเห็นวัตถุประสงค์ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ และเห็นว่าโครงการต่าง ๆ นั้นจะทำให้ได้ผลผลิตอะไร
3. การกำหนดวัตถุประสงค์การประเมิน คล้ายกับการทำวิจัยว่าตอบวัตถุประสงค์อะไรหรือตอบโจทย์อะไรจากที่ได้เก็บข้อมูลมาทั้งหมด เพื่อเป็นทิศทางในการศึกษา สิ่งที่เป็นลักษณะพิเศษของการกำหนดวัตถุประสงค์การประเมิน คือ จะมีเกณฑ์ที่เป็น Keyword ในการกำหนดวัตถุประสงค์ (ใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมิน) คือ
o ประสิทธิภาพ Efficiency
o ประสิทธิผล Effectiveness
o ความพอเพียง Adequacy
o ความเสมอภาค Equality
o ความเป็นธรรม Justice
o ความเหมาะสม Appropriateness
o ความพึงพอใจของผู้รับบริการ Client ‘s Satisfaction
o การยึดโยงของระบบ System Maintenance เช่น ความเข้มแข็งของชุมชน

การกำหนดกรอบการประเมินผลนโยบาย
o กำหนดขอบข่ายด้านเนื้อหาที่จะประเมิน จะต้องมีการตีกรอบหรือกำหนดขอบเขตว่าจะดูผลกระทบในเรื่องใดบ้าง แล้วแต่ว่าเราจะเอาไปใช้
o ทำความเข้าใจ ความหมายของแนวคิดเชิงทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เช่น ประสิทธิผล ความยากจน ความพึงพอใจ ชุมชนเข้มแข็ง (หากยังไม่เข้าใจก็ต้องไปดูทฤษฎีเพิ่มขึ้น เป็น concept ล่องลอยอยู่ในอากาศ เป็นอุดมคติหรือนามธรรม/มโนทัศน์ แต่นักวิชาการบอกว่าแม้จะเป็นแนวความคิดจับต้องไม่ได้ ก็ไม่หมายความว่าจะศึกษาไม่ได้ โดยการศึกษาชุมชนเข้มแข้งผ่านสิ่งอื่นที่เรามองเห็นได้ เรียกว่าตัวชี้วัดหรือตัวบ่งชี้ Indicators )
o (ชุมชนเข้มแข็ง ตัวชี้วัดชุมชนเข้มแข็ง)
o กำหนดตัวชี้วัด (Indicators) และเกณฑ์การประเมิน (Criteria)

4. การออกแบบการประเมินผลนโยบายสาธารณะ
คณะผู้ประเมินผลนโยบายต้องออกแบบให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การประเมินโดยพิจารณาเลือกใช้ (1) การออกแบบการประเมินผลนโยบาย และ (2) วิธีการวิจัยประเมินผลนโยบายที่เหมาะสม การจะเปรียบเทียบ เราจะต้องมีข้อมูล 2 ชุด อาจจะต้องจัดเก็บ 2 ช่วงเวลาจึงจะเห็นการเปลี่ยนแปลง

การออกแบบวิธีการประเมินผลนโยบาย
แบบการประเมิน
1. รูปแบบประเมินก่อนและหลังการดำเนินโครงการ (Before and After) เปรียบเทียบสภาพปัญหา ก่อนและหลัง การดำเนินนโยบาย จะต้องกำหนดเกณฑ์บ่งชี้ความสำเร็จไว้ล่วงหน้าเลยตอนที่วางแผน
5. ดำเนินการประเมินผลนโยบาย เหมือนกับระเบียบวิธีวิจัยทั่ว ๆ ไป
1. เครื่องมือและการสร้างเครื่องมือ
2. ถามใคร : ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
3. เก็บข้อมูลอย่างไร
o สัมภาษณ์โดยใช้ Questionnaire
o สัมภาษณ์แบบเจาะลึก
o สนทนากลุ่ม (Group Discussion)
4. ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล
5. เขียนรายงานการประเมินผลนโยบาย
6. การนำเสนอผลการประเมินผล ให้กับหน่วยงาน ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ มีหลักคือทำอย่างไรให้ผลการประเมินของเรานั้นเป็นที่รับรู้รับทราบอย่างทั่วถึง ก็ควรโน้มน้าวผู้บริหารให้แจ้งผลแก่เจ้าหน้าที่ทุกคน
7. การนำผลการประเมินผลไปใช้ประโยชน์ เป็นประโยชน์สูงสุดของการทำวิจัย เพื่อนำไปก่อให้เกิดการบริหารการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ต้องเขียน recommendation หรือข้อเสนอแนะ

สรุป
ในการที่จะแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ให้ประสบความสำเร็จได้จำเป็นจะต้องมีกระบวนการ ขั้นตอนจึงจะแก้ไขปัญหาสำเร็จได้ ทางกลุ่มจึงได้นำวงจรของนโยบายมาเป็นกรอบในการดำเนินการแก้ไขปัญหา เริ่มตั้งแต่การกำหนดนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติ และการประเมินนโยบาย รวมทั้งกระบวนการตัดสินใจอย่างเป็นระบบกล่าวคือ จะต้องมีการวิเคราะห์สถานการณ์ ระบุปัญหา จัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนของปัญหา กำหนดทางเลือกในการแก้ปัญหา ประเมินทางเลือก ตัดสินใจเลือกทางเลือก เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ เป้าหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด อบต. องค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งทางกลุ่มได้มีมติเลือกองค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นกรณีศึกษา
อบต.เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาและสร้างสรรค์
ความเจริญให้เกิดแก่ชุมชนและท้องถิ่นซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีการพัฒนาและบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ “การจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” เป็นเหมือนกลไกหลักสำคัญในการดำเนินงานของอบต. สอดคล้องกับนโยบายที่เป็นกิจกรรมต้นๆ ที่ท้องถิ่นจัดทำขึ้นตามแนวทางในแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของท้องถิ่น ซึ่งเป็นการนำยุทธศาสตร์และแนวทางในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาของอบต.มาสู่การปฏิบัติโดยมีรายละเอียดของแผนงาน/โครงการที่จะต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ต้องการในแต่ละยุทธศาสตร์การพัฒนา ซึ่งจะมีผลต่อวัตถุประสงค์ เป้าหมาย จุดมุ่งหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และวิสัยทัศน์ในที่สุด ตลอดจนอบต.ได้ใช้ในการวางแผนเพื่อจัดทำแผนการจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาท้องถิ่นเป็นนโยบายสาธารณะจัดทำงบประมาณประจำปีเป็นไปด้วยความรอบคอบผ่านการมีส่วนร่วมของประชาชน
ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น จึงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้อบต.ได้พิจารณาให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างแนวทางการดำเนินงานด้านต่างๆ ที่อาจจะมีความเชื่อมโยงและส่งผลทั้งในเชิงสนับสนุนและเป็นอุปสรรคต่อกันเพื่อให้ท้องถิ่นนำมาตัดสินใจกำหนดแนวทางการดำเนินการและให้ทรัพยากรบริหารของท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการวางแผนพัฒนาท้องถิ่นมีความสำคัญต่ออบต.เป็นอย่างยิ่งทั้งนี้เนื่องจาก การนำนโยบายไปปฏิบัติที่มุ่งไปสู่สภาพการณ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคตเป็นกรอบในการพัฒนาท้องถิ่นไปสู่ความพึงประสงค์ได้อย่างเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงโดยสามารถจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่หลายฝ่ายรวมทั้งประชาชน หน่วยราชการ และองค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้อง ที่มีส่วนร่วม และให้ความคิดเห็นเสนอแนะทำให้ยุทธศาสตร์นโยบายการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลวังแดงจำเป็นต้องดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ต่อไป
จากสภาพปัญหาทั้ง 5 ด้านขององค์การบริหารส่วนตำบลวังแดงจึงได้กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาแต่ละด้านตามความต้องการของประชาชนโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติสถานะทางการคลัง และความจำเป็นเร่งด่วนที่มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการปฏิบัติควบคู่กับการพัฒนาที่ยึด “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” เชื่อมโยงทุกมิติทั้งตัวคน สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการเมือง อย่างมีเหตุผล ใช้หลัก ความพอประมาณ โดยมีการเตรียมระบบภูมิคุ้มกันและนำทุนที่มีศักยภาพในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการและเกื้อกูลกัน ดังนั้น การพัฒนาการจัดการเชิงกลยุทธ์และการพัฒนาท้องถิ่นจำเป็นต้องมีการวางแผนเพื่อสนับสนุนและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ รวมทั้งตามอำนาจหน้าที่ของอบต.ตามพระราชบัญญัติอบต. พ.ศ. 2496 , พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ พ.ศ. 2542 และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป


4.5 คำนวนค่าใช้จ่ายหรืองบประมาณที่ต้องใช้