วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552

รวบรวมแนวข้อสอบการจัดการภาวะวิกฤติ

ส่วนที่ 2 อาจารย์เจตน์ ธนวัฒน์
ให้ท่านตรวจสอบความเสี่ยงและหาหนทางอย่างเป็นระบบ เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะวิกฤติในองค์กรที่ท่านรับผิดชอบ พร้อมทั้งรับมือกับภาวะวิกฤติโดยจัดทำแผนสำรอง เพื่อลดความเสียหายและให้เหตุการณ์กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว โดยยกตัวอย่าง 1 กรณี

ส่วนที่ 3 พล.อ.ดร. เกษมชาติ นเรศเสนีย์
1. การก่อการร้ายเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศในทุกๆด้าน ซึ่งกลุ่มก่อการร้ายสากลมักมุ่งโจมตี และทำความสูญเสียให้แก่ผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก ให้ท่านอธิบายสงครามการก่อการร้าย 2 ประเด็น ดังนี้
1.1 ให้ระบุสาเหตุที่ทำให้สหรัฐอเมริกาตกเป็นเป้าหมายการโจมตีของขบวนการก่อการร้ายสากล จำนวน 3 ข้อ พร้อมกับอธิบายให้เข้าใจพอสังเขป
1.2 ให้ท่านเสนอแนวทางการยุติปัญหาการก่อการร้าย อย่างน้อย 5 ข้อ พร้อมอธิบายพอสังเขป

2. ให้ท่านอธิบายสาเหตุของการก่อการร้ายในบริเวณ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยอย่างน้อย 3 ข้อพร้อมอธิบายให้เข้าใจ และให้เสนอแนวทางหารแก้ปัญหาเพื่อยุติสงครามการก่อการร้าย และเหตุรุนแรงที่กำลังเกิดขึ้นในบริเวณดังกล่าวด้วย

ส่วนที่ 3 พล.อ.ดร. เกษมชาติ นเรศเสนีย์
1. ภาวะวิกฤติเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นทั้งจากมนุษย์สร้างขึ้น และเกิดขึ้นจากธรรมชาติสงครามการก่อการร้ายเป็นภาวะวิกฤติที่เกิดจากขบวนการก่อการร้าย และเป็นเหตุรุนแรงที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ซึ่งมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งต่างๆ

ให้ท่านอธิบายปัญหาการก่อการร้ายร้ายในเขตชายแดนภาคใต้ 3 จังหวัด ตามหัวข้อดังนี้
1.1 สาเหตุของการก่อการร้าย ( สาเหตุของปัญหา)
- ระดับสากล(การขัดแย้งทางศาสนา ปัญหาเชื้อชาติ และปัญหาในระดับภูมิภาค
- ระดับประเทศ(หน่วยราชการที่ปฏิบัติงานต่างๆในพื้นที่)
- ระดับท้องถิ่น(ปัญหาต่างๆในท้องถิ่น)
1.2 แนวทางการแก้ปัญหา
- ระดับยุทธศาสตร์
- ระดับยุทธวิธี
2. ให้ท่านอธิบายหลักการ และการปฏิบัติในการเจรจาเพื่อแลกเปลี่ยนตัวประกันในการแก้ปัญหาการก่อการร้าย ตามหัวข้อดังนี้
2.1 การเตรียมการเมื่อท่านต้องเป็นผู้เจรจา
2.2 ลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เจรจา

ส่วนที่ 3 พล.อ.ดร.เกษมชาติ นเรศเสนีย์
1. ภาวะวิกฤตเป็นเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นทั้งจากมนุษย์สร้างขึ้น และเกิดขึ้นจากธรรมชาติสงคราม
การก่อการร้ายเป็นภาวะวิกฤตที่เกิดจากกระบวนการก่อการร้าย และเป็นเหตุรุนแรงที่เกิดจาก
การกระทำของมนุษย์ซึ่งมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งต่าง ๆ
ให้ท่านอธิบายปัญหาการก่อการร้ายในเขตชายแดนภาคใต้ 3 จังหวัด ตามหัวข้อ ดังนี้
1.1 สาเหตุของการก่อการร้าย (สาเหตุของปัญหา)
- ระดับสากล (การขัดแย้งทางศาสนาปัญหาเชื้อชาติและปัญหาในระดับภูมิภาค)
- ระดับประเทศ (หน่วยงานราชการที่ปฏิบัติงานต่าง ๆ ในพื้นที่)
- ระดับท้องถิ่น (ปัญหาต่าง ๆ ในท้องถิ่น)
1.2 แนวทางการแก้ปัญหา
- ระดับยุทธศาสตร์
- ระดับยุทธวิธี
2.ให้ท่านอธิบายหลักการ และการปฏิบัติในการเจรจาเพื่อแลกเปลี่ยนตัวประกันในการแก้ปัญหาการก่อการร้าย ตามหัวข้อดังนี้
2.1 การเตรียมการเมื่อท่านต้องเป็นผู้เจรจา
2.2 ลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เจรจา

ส่วนที่ 3 พล.อ.ดร.เกษมชาติ นเรศเสนีย์
1. ปัญหาการก่อการร้ายเป็นภาวะวิกฤตอย่างหนึ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งเป็นภาวะที่ผู้บริหารต้องใช้หลักการบริหารที่แตกต่างไปจากภาวะปกติ ให้ท่านอธิบายรายละเอียดการก่อการร้าย ตามหัวข้อ 4 ประเด็น ดังนี้
1. สาเหตุของสงครามการก่อการร้าย
2. ยุทธศาสตร์ของการก่อการร้าย
3. ยุทธวิธีของการก่อการร้าย
4. หากผู้ก่อการร้ายจี้บังคับผู้บริสุทธิ์เป็นตัวประกัน และท่านต้องเป็นผู้เจรจาเพื่อแลกเปลี่ยนตัวประกันนั้น ท่านจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
ส่วนที่ 3 พล.อ.ดร.เกษมชาติ นเรศเสนีย์
1. ภาวะวิกฤตด้านความมั่นคงมักเกิดจากปัญหาการก่อการร้ายสากลที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงเป็นขบวนการทั่วโลกที่มุ่งทำลายผลประโยชน์ของประเทศสหรัฐอเมริกา และอังกฤษเป็นหลัก ในฐานะที่ท่านได้ศึกษาเรื่องการต่อต้านด้านการก่อการร้ายสากลมาโดยละเอียดแล้ว ให้ท่านตอบปัญหา 2 ข้อดังนี้
1.1 ให้อธิบายสาเหตุการก่อการร้ายสากลซึ่งประกอบด้วยปัญหาทางด้านศาสนาเชื้อชาติ และปัญหาในภูมิภาคต่าง ๆ ที่มีความขัดแย้งกันในเรื่องอุดมการณ์ทางการเมืองและปัญหาอื่น ๆ ในแต่ละภูมิภาค (ให้อธิบายโดยละเอียด)
1.2 ให้อธิบายสาเหตุการก่อการร้ายในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยและให้เสนอแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าว เพื่อให้สามารถยุติปัญหาการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลานานแล้วด้วย
ส่วนที่1 ศ.นพ. วันชัย วัฒนศัพท์
การมีส่วนร่มวอย่างแท้จริงคืออะไร โปรดอธิบาย และอธิบายกระบวนการมีส่วนร่วมที่ทำให้เกิด การป้องกันและแก้ปัญหาความขัดแย้ง
ความขัดแย้งมีกี่ประเภทอะไรบ้าง จงยกตัวอย่างกรณีที่ประสบมาเองและอธิบายว่าเป็นประเภทใด และอธิบายการแก้ไขปัญหาทั้งที่ประสบความสำเร็จหรือไม่ประสบความสำเร็จทำไมจึงประสบความสำเร็จและทำไมจึงไม่ประสบความสำเร็จ
จงอธิบายหลักการแก้ปัญหาคามขัดแย้งด้วยการเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลาง และโดยเฉพาะการไกล่เกลี่ยโดยยึดจุดสนใจ (Interest-based Negotiation) พร้อมยกตัวอย่าง
ส่วนที่1 ศ.นพ. วันชัย วัฒนศัพท์
1. ตามที่ทางคณะกรรมการการเลือกตั้งจะได้จัดให้มีการลงประชามติในวันที่ 19 สิงหาคม 2550 นั้นท่านมีความเข้าใจการลงประชามติที่เป็นส่วนหนึ่งของการมีส่วนร่วมของประชาชนที่สำคัญ อย่างไร โปรดอธิบายหลักความคิดของการลงประชามติ ข้อดี ข้อด้อยของการลงประชามติ
และในฐานะเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรปกครองท้องถิ่น ท่านจงอธิบายข้อดีของรัฐธรรมนูญที่ลงประชามติสักหนึ่งประเด็น

2. ความขัดแย้งในท้องถิ่นนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้น จากการที่ท่านมารับการศึกษาในหลักสูตร รปม. มหาบัณฑิตแห่งนี้ ท่านคิดว่าจะนำความรู้ไปแก้ปัญหาความขัดแย้งท้องถิ่นหรือองค์กรของท่านได้อย่างไร โปรดยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นที่เกิดกับท้องถิ่นหรือองค์กรของท่านและท่านจะเอาหลักการอะไรไปใช้แก้ปัญหาได้อย่างไร หรือปัญหาที่เคยเกิดขึ้นมีการแก้ไขที่ตรงกับหลักการที่เรียนไปอย่างไร จงเลือกตอบพร้อมเหตุผล
3. ที่มีคำพูด การฟังอย่างตั้งใจหรือ Active Listening นั้น มีความสำคัญต่อการพัฒนา ประชาธิปไตย โปรดให้ความเห็นถึงหลักการของการฟังอย่างตั้งใจที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยอย่างไรโปรดอธิบาย
ส่วนที่1 ศ.นพ. วันชัย วัฒนศัพท์
1. ปัญหาการขัดแย้งในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังดำเนินการร่างโดย สสร. แล้วมีการทำประชาพิจารณ์ และกำลังจะทำประชามตินั้น ขอให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นในเรื่องของกระบวนการการมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญว่า การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง (Meaning Publicpation Particpation) ได้เกิดขึ้นหรือไม่อย่างไร และทางออกของปัญหาการจะดำเนินการอย่างไร
2. ความขัดแย้งทางการเมืองในระดับท้องถิ่น หรือระดับชาติ ที่มีเหตุการณ์หลาย ๆ ครั้งนำไปสู่ความรุนแรง นักศึกษาคิดว่าจะใช้วิธีการแก้ปัญหาอย่างไร โดยอาศัยทฤษฎีหลักการที่ได้เรียนมา
3. โปรดยกตัวอย่างปัญหาความขัดแย้งในท้องถิ่นของท่าน และวิเคราะห์ปัญหานั้น ๆ ตามหลักการทฤษฎีที่ท่านได้ศึกษามา และอธิบายถึงวิธีการที่จะแก้ปัญหาหรือที่ได้แก้ปัญหา (ไม่จำเป็นว่ากรณีที่ยกขึ้นจะเป็นเรื่องที่แก้สำเร็จแล้วหรือไม่ก็ตาม) หากจะใช้วิธีการเจรจาและคู่กรณีไม่ยอมมาเจรจา ท่านจะทำอย่างไรให้เขาหันมาสู่โต๊ะเจรจา


ส่วนที่ 1 ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์
2. จงอธิบายความหมาย หลักการ และเครื่องมือของการมีส่วนร่วมอย่างอย่างแท้จริง และทำไมจึงต้องใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
3. จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างจริงที่ท่านได้ประสบมาหรือรับรู้มา ในความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนั้น ๆ และอธิบายแยกแยะชนิดของความขัดแย้งประเภทต่าง ไ ที่ได้รับมา ทั้งที่ประสบความสำเร็จหรือไม่ประสบความสำเร็จ ทำไมจึงประสบความสำเร็จและทำไมจึงไม่ประสบความสำเร็จ
4. จงอธิบายหลักการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยการเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลาง และโดยเฉพาะการไกล่เกลี่ยโดยจุดยึดจุดสนใจ (Interrest – basen Negotiation)
ส่วนที่ 1 ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์
1. ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในองค์กร เช่น ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งระหว่างปลัดกับนายก ก็ดี หรือระหว่างนายก กับ สมาชิกสภาก็ดี ที่ท่านอาจจะเคยประสบ หรือได้รับรู้มา ในฐานะนักศึกษาที่ผ่านการศึกษาการแก้ปัญหาด้วยสันติวิธีมาแล้ว จงอธิบายหลักการและวิธีการแก้ปัญหาในองค์กรดังกล่าวและผลการแก้ปัญหา
2. ความขัดแย้งทางการเมืองที่กำลังดำรงอยู่นี้ ท่านคิดว่าจะมีทางออกของการแก้ไขปัญหาได้อย่างไรหรือไม่ จงอธิบายตามแนวคิดและทฤษฎีที่ได้เคยเรียนรู้มา โดยเฉพาะการแก้ปัญหาหรือการสานเสวนาโดยใช้การมองจุดสนใจแทนจุดยืน
3. การมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง หรืออย่างมีความหมาย (Meaningful Public Partipation) อย่างไร จงอธิบาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น