วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552

แนวข้อสอบวิชา ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์

แนวข้อสอบวิชา ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์
รศ.ดร.สุวัลลีย์ เปี่ยมปิติ
1. ชื่อเรื่อง
- การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชน กรณีศึกษาเทศบาลตำบลในเมือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
2. ความเป็นมาของปัญหา
2.1 การจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในช่วงที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่ยังไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เช่น การเทกองและการเผากลางแจ้ง เป็นต้น ส่งผลให้ปัญหาขยะมูลฝอยมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำ ดิน ทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ รวมทั้งสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชน
2.2 การที่จำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับค่านิยมในการดำรงชีวิตที่ให้ความสำคัญกับรูปลักษณ์และความสะดวกสบายในการบริโภคเป็นหลัก ทำให้ปริมาณขยะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว หากไม่รีบดำเนินการแก้ไขปัญหาจะนำไปสู่วิกฤตด้านการจัดการขยะมูลฝอยที่ยากเกินจะแก้ไขได้ในอนาคตอันใกล้
3. ความสำคัญของปัญหา
1. เกิดปัญหามลพิษต่อสภาพแวดล้อมอย่างมากมาย เช่น การปนเปื้อนของแหล่งน้ำและการปนเปื้อนของอากาศ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และแพร่กระจายของเชื้อโรค ตลอดจนก่อให้เกิดความรำคาญต่าง ๆ ตลอดจนเป็นต้นเหตุของอัคคีภัยได้อีกด้วย
2. ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ
4. วัตถุประสงค์
4.1 เพื่อศึกษาลักษณะการมีส่วนร่วมด้านการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชน กรณีศึกษาเทศบาลตำบลในเมือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
4.2 เพื่อศึกษาสาเหตุหรือปัจจัยการมีส่วนร่วมด้านการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชน กรณีศึกษาเทศบาลตำบลในเมือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์

5. วิธีดำเนินการวิจัย
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษา ค้นคว้าและรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอย ประกอบกับนโยบายของเทศบาลตำบลในเมืองเพี่อใช้เป็นกรอบแนวความคิดในการวิจัย และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือกับผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลในเมือง จำนวน 3 ชุมชน คือ ชุมชนหลักเมือง ชุมชนศรีเมืองพิชัย และชุมชนพิชัยดาบหัก จำนวน ประชากรทั้งสิ้น 2,188 คน ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวเอย่างแบบกำหนดเป็นสัดส่วน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 300 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ (The Statistical Package for Social Sciences = SPSS) ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยกระตุ้นวิเคราะห์ด้วยค่าสถิติร้อยละ พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยวิเคราะห์ ด้วย ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทดสอบสถิติ T-test และการวิเคราะห์ด้วยตัวแปรทางเดียว

6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
6.1 ทำให้ทราบลักษณะการมีส่วนร่วมด้านการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลในเมือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
6.2 ทำให้ทราบสาเหตุหรือปัจจัยการมีส่วนร่วมด้านการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลในเมือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
6.3 ทำให้ทราบข้อมูลในการวางแผนการมีส่วนร่วมด้านการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลในเมือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
7. ตัวอย่างแบบสอบถาม (อย่างย่อ ๆ )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น